สายด่วนนายก 093-130-3409
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)
แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลท่าวังตาล
หน้าแรก » แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น และ สินค้า OTop » ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านแพทย์แผนไทย
การแพทย์แผนไทย เป็นภูมิปัญญาซึ่งบรรพบุรุษของไทยได้สั่งสมสืบทอดกันมายาวนาน มีความพยายามในการธำรงรักษาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของชาติมาตั้งแต่อดีต มีการรวบรวมตำรายาที่ดีและจารึกไว้ในแผ่นหิน ประดับตามผนังศาลาวัดสำคัญต่างๆ เมื่อเริ่มมีการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาในประเทศไทย การแพทย์แผนไทยยังคงมีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยมีการพัฒนาการแพทย์แผนไทยยุคใหม่ เรียกว่า “การแพทย์แผนไทยประยุกต์” คือการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาประยุกต์เพื่ออธิบายและพัฒนาการแพทย์แผนไทย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการแพทย์แผนไทย
นางพิมพ์วนิดา โพธิ์ตุ่น หมู่ 4 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
ประโยชน์
ช่วยรักษาและบรรเทาอาการปวดบวม เคล็ดขัดยอกฟกช้ำ อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ และข้อต่อ กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต การทำลูกประคบในแต่ละภูมิภาคจะมีพืชสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบแตกต่างกันไปตาม องค์ความรู้ สภาพแวดล้อมในท้องถิ่น วิธีการทำเป็นลักษณะใช้สมุนไพรแห้ง บางแห่งจะมีใบเป้า หัวไพร ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด ใบมะขาม ใบส้มป่อย เกลือ การบูร หั่นหรือสับ ห่อด้วยผ้าขาวบาง โดย วิธีการทำเป็นลักษณะใช้สมุนไพรสด นำไปนึ่งแล้วนำมาใช้ได้ทันที สำหรับภาคเหนือจะมีข่าเป็น ส่วนประกอบร่วมด้วยและวิธีการทำเป็นลักษณะของการใช้สมุนไพรแห้ง โดยการตากแดดให้แห้งก่อนจึง นำมาผสมรวมกันห่อด้วย ผ้าขาวบาง แล้วนำไปนึ่งก่อนใช้
ตัวยาสมุนไพรที่นิยมใช้ทำลูกประคบ
วิธีทำ
นำสมุนไพรทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน (เว้นเกลือ การบูร พิมเสน) อบในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 60-80 องศา ประมาณ 1 ชั่วโมงนำสมุนไพรที่อบเสร็จแล้วมาบดหยาบ ๆนำเกลือ การบูร พิมเสน มาคลุกเค้ากับสมุนไพรที่บดได้ตักสมุนไพรใส่ผ้าดิบหรือผ้าขาวบางที่เตรียมไว้ มัดด้วยเชือกให้แน่น
วิธีใช้
นำลูกประคบสมุนไพร พรมน้ำพอหมาดแล้วนึ่งไอน้ำร้อนประมาณ 15 นาที นวดคลึงบริเวณที่มีอาการ
โรคนิ้วล็อก เป็นภาษาของเราชาวบ้าน เรียกคนที่มีอาการเหมือนนิ้วโดนล็อกไม่ให้ขยับเขยื้อน ลักษณะอาการที่ปรากฏคือ เมื่อเหยียดนิ้วออกไป ปรากฏว่านิ้วไม่เหยียดตามที่สั่ง จะโทษว่านิ้วดื้อด้านก็ไม่ได้ เหตุที่มันล็อกก็เพราะเจ้าของนิ้วนั่นเองใช้งานนิ้วไม่ถูกต้อง ทำให้มันเหยียดไม่ออก อาการเหล่านี้เกิดมาจากเราทำงานและเกร็งนิ้วมือนานๆ นั่นเอง เมื่อเป็นโรคนี้แล้ว คนเป็นก็จะปวดนิ้ว การรักษามีทั้งกินยาลดการอักเสบ ใช้กายภาพบำบัด ถ้าเป็นหนักเข้าก็ต้องผ่าตัดเลยทีเดียว
วิธีการของเราชาวบ้านแต่โบราณมาก็คือ ใช้กายภาพบำบัด เครื่องมือสำหรับกายภาพบำบัดที่รู้จักกัน ก็คือ งับขยับข้อหรืองูรัดนิ้ว การสานงูรัดนิ้ว เราชาวบ้านจะนำใบลานหรือเส้นพลาสติกสานมาฉีกเป็นเส้น แล้วสานออกมาเป็นรูปคล้ายกรวย มีความยาวประมาณ 5-6 นิ้ว ความกว้าง ทำแค่ให้สวมนิ้วมือได้ ด้านปากทำเป็นรูปคล้ายปากงู ตัวกรวยคล้ายงู ส่วนหางนั้น เมื่อสานเสร็จก็ปิดหาง และปล่อยปลายให้ยาวออกไปเล็กน้อย ส่วนเกินนี้เราไม่ต้องสาน ปล่อยให้เลยไปอย่างนั้น แล้วฉีกให้เป็นฝอยๆ เพื่อความสวยงาม เมื่อสานเป็นรูปตัวงูแล้วก็พร้อมใช้งาน
วิธีการใช้งาน
การใช้งานคือนำเอาส่วนปากที่มีรูปเหมือนปากงูสวมนิ้วที่มีอาการล็อก ขยับตัวงูรัดนิ้วเบาๆ มันจะช่วยดึงข้อนิ้วและนวดนิ้วให้เป็นอย่างดี ค่อยๆ ทำช้าๆ เรื่อยๆ ไป การทำอย่างนี้ ก็เท่ากับการทำกายภาพบำบัดที่หมอสมัยใหม่เราเรียกขานกันนั่นเอง เมื่อต้องการเอาออก ต้องดันส่วนปลายของตัวรูปงูนั้นเข้าไปก่อน ทำให้ส่วนที่คล้ายลำตัวงอมีลักษณะย่น หลังจากนั้นค่อยดึงออกมา ทำอย่างนี้จะดึงออกมาอย่างง่ายดาย ถ้านวดอยู่ดีๆ แล้วดึงออก จะดึงออกยากมาก ดีไม่ดีทำให้นิ้วปวดแสบปวดร้อนได้ คนที่เป็นโรคนิ้วล็อก ถ้าใช้งูรัดนิ้วนวดนิ้ว ที่ล็อกบ่อยๆ อาการก็จะทุเลาลง และมีโอกาสหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด