สายด่วนนายก 093-130-3409
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)
แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลท่าวังตาล
หน้าแรก » แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น และ สินค้า OTop » ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านแพทย์แผนไทย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านแพทย์แผนไทย
การแพทย์แผนไทย เป็นภูมิปัญญาซึ่งบรรพบุรุษของไทยได้สั่งสมสืบทอดกันมายาวนาน มีความพยายามในการธำรงรักษาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของชาติมาตั้งแต่อดีต มีการรวบรวมตำรายาที่ดีและจารึกไว้ในแผ่นหิน ประดับตามผนังศาลาวัดสำคัญต่างๆ เมื่อเริ่มมีการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาในประเทศไทย การแพทย์แผนไทยยังคงมีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยมีการพัฒนาการแพทย์แผนไทยยุคใหม่ เรียกว่า “การแพทย์แผนไทยประยุกต์” คือการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาประยุกต์เพื่ออธิบายและพัฒนาการแพทย์แผนไทย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการแพทย์แผนไทย
นางพิมพ์วนิดา โพธิ์ตุ่น (บ้านดวงดี) หมู่ 4 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
ประโยชน์
ช่วยรักษาและบรรเทาอาการปวดบวม เคล็ดขัดยอกฟกช้ำ อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ และข้อต่อ กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
ตัวยาสมุนไพรที่นิยมใช้ทำลูกประคบ
วิธีทำ
นำสมุนไพรทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน (เว้นเกลือ การบูร พิมเสน) อบในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 60-80 องศา ประมาณ 1 ชั่วโมงนำสมุนไพรที่อบเสร็จแล้วมาบดหยาบ ๆนำเกลือ การบูร พิมเสน มาคลุกเค้ากับสมุนไพรที่บดได้ตักสมุนไพรใส่ผ้าดิบหรือผ้าขาวบางที่เตรียมไว้ มัดด้วยเชือกให้แน่น
วิธีใช้ นำลูกประคบสมุนไพร พรมน้ำพอหมาดแล้วนึ่งไอน้ำร้อนประมาณ 15 นาที นวดคลึงบริเวณที่มีอาการ
วิธีการของเราชาวบ้านแต่โบราณมาก็ งับขยับข้อหรืองูรัดนิ้ว การสานงูรัดนิ้ว เราชาวบ้านจะนำใบลานหรือเส้นพลาสติกสานมาฉีกเป็นเส้นแล้วสานออกมาเป็นรูปคล้ายกรวย มีความยาวประมาณ 5-6 นิ้ว ความกว้าง ทำแค่ให้สวมนิ้วมือได้ ด้านปากทำเป็นรูปคล้ายปากงู ตัวกรวยคล้ายงู ส่วนหางนั้น เมื่อสานเสร็จก็ปิดหาง และปล่อยปลายให้ยาวออกไปเล็กน้อย ส่วนเกินนี้เราไม่ต้องสาน ปล่อยให้เลยไปอย่างนั้น แล้วฉีกให้เป็นฝอยๆ เพื่อความสวยงาม เมื่อสานเป็นรูปตัวงูแล้วก็พร้อมใช้งาน
วิธีการใช้งานงูงับขยับข้อหรืองูรัดนิ้ว
การใช้งานคือนำเอาส่วนปากที่มีรูปเหมือนปากงูสวมนิ้วที่มีอาการล็อก ขยับตัวงูรัดนิ้วเบาๆ มันจะช่วยดึงข้อนิ้วและนวดนิ้วให้เป็นอย่างดี ค่อยๆ ทำช้าๆ เรื่อยๆ ไป การทำอย่างนี้ ก็เท่ากับการทำกายภาพบำบัดที่หมอสมัยใหม่เราเรียกขานกันนั่นเอง
“การนวดตอกเส้นเป็นการรักษาที่คลายเส้นได้เร็วกว่าการนวด” การตอกเส้นเป็นการรักษาโดยใช้อุปกรณ์ คือไม้ตอกเส้นที่มีลักษณะคล้ายลิ่มหรือสิ่วแต่ไม่มีความคม ตอกด้วยค้อนตอกที่มีรูปร่างและน้ำหนักที่เหมาะสม ผู้ที่ทำการตอกเส้นจะตอกไปตามร่องกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเลาะตามแนวกระดูก ผู้ที่ตอกจะระมัดวังไม่ให้โดนกระดูกโดยตรง ผู้จำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้วย การตอกจะไปกระตุ้นในจุดที่เป็นปัญหาปวดเมื่อยเนื่องจาการเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่มีการวางตัวผิดปกติอยู่ เมื่อตอกกระตุ้น “จะมีอาการคล้ายกับมีไฟฟ้าช๊อต” ระบบในร่างกายของเราที่มีความ มหัศจรรย์ในการรักษาตนเองอยู่แล้ว ก็จะทำการรีเซ็ตกล้ามเนื้อบริเวณนั้นให้เข้าทีเข้าทาง จึงทำให้อาการปวดเมื่อยนั้นจึงหายได้อย่างรวดเร็ว