สายด่วนนายก 093-130-3409
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)
แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลท่าวังตาล
หน้าแรก » แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น และ สินค้า OTop » ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านอื่นๆ (อาหารและโภชนาการ)
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านอื่นๆ (อาหารและโภชนาการ)
การทำข้าวแต๋นโบราณ
นางอำนวย คำปัญญา หมู่ 9 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
ข้าวแต๋น เป็นขนมไทยพื้นบ้านที่เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ลิ้มลอง หรือเคยได้รับเป็นของฝากจากแดนไกลรู้หรือไม่ว่าที่มาของการทำข้าวแต๋นนั้นมาจากภูมิปัญญาพื้นบ้านในการถนอมอาหารของชาวบ้านภาคเหนือ และได้ถูกต่อยอดจนกลายมาเป็นสินค้าของฝากขึ้นชื่อที่สามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย
ที่มาของข้าวแต๋น
การทำข้าวแต๋นเกิดขึ้นจากไอเดียการถนอมอาหารของชาวบ้านพื้นเมืองภาคเหนือ เพื่อแปรรูปข้าวเหนียวนึ่งที่เหลือเป็นจำนวนมาก ซึ่งข้าวแต๋นมักนิยมทำกันในเทศกาลปีใหม่เมืองรือเทศกาลสงกรานต์ งานปอยลูกแก้ว และงานปอยหลวงของทางภาคเหนือ โดยมีกรรมวิธีคือการนำข้าวเหนียวที่ผ่านการนึ่งสุกแล้ว นำมาคลุกเคล้ากับน้ำอ้อย น้ำตาล นำไปตากแห้งและนำมาทอดกรอบ แล้วราดด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนข้นเหนียวลงไปที่หน้าข้าวแต๋น เพื่อเพิ่มความหวามกลมกล่อมและชูรสชาติของข้าวแต๋นให้มีมิติยิ่งขึ้น ไม่นาน “ข้าวแต๋น” ก็ได้กลายเป็นสินค้าของกินและของฝากที่มีชื่อเสียงของทางภาคเหนือทำให้เหล่าแม่ค้ามีการพัฒนาสูตรการทำให้มีจุดเด่นด้วยการผสมน้ำแตงโมลงในข้าวเหนียว เพื่อช่วยเพิ่มกลิ่นหอมและรสชาติหวานอร่อย จนได้กลายมาเป็น “ข้าวแต๋นน้ำแตงโม” ที่ทุกคนรู้จักในปัจจุบัน รวมไปถึงการเนรมิตรหน้าข้าวแต๋นต่าง ๆ ให้มีความหลากหลาย อาทิเช่น ถั่วลิสง ถั่วเขียว งาดำ งาขาว สาหร่าย หมูหยอง ใบเตย และอื่นๆ อีกมากมาย