ท่าวังตาลน่าอยู่ มุ่งเน้นธรรมาภิบาล บริการอย่างมีคุณภาพ *** อุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน  091 009 9977 (งานการแพทย์ฉุกเฉิน) / 094 216 1515 ,053-141775 (งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) /ร้องเรียนทั่วไป 053-140981-2 ต่อ 100 / ผุ้ป่วยฉุกเฉิน - กู้ชีพ (นครพิงค์) 1669 / ตำรวจ - ฉุกเฉิน 191 / ดับเพลิง -กู้ภัย 199 ***

ที่อยู่เทศบาลตำบลท่าวังตาล

149/1 หมู่ 2 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140

โทรศัพท์ 053-140-981-2

งานป้องกันฯ 053 141 775

อีเมล์ saraban-thawangtan@lgo.mail.go.th

President

นางวิมลรัก ตนซื่อ

นายกเทศมนตรี
ตำบลท่าวังตาล

สายด่วน 091-0685389

President

นายภาคภูมิ เชื้อสาวะถี

ปลัดเทศบาล
ตำบลท่าวังตาล

091-065-0515

สายด่วนนายก 093-130-3409

ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)

ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)

แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลท่าวังตาล

หน้าแรก » แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น และ สินค้า OTop » ภูมิปัญญาท้องถิ่น อุตสาหกรรมและหัตถกรรม

ภูมิปัญญาท้องถิ่น อุตสาหกรรมและหัตถกรรม

ภูมิปัญญาท้องถิ่น อุตสาหกรรมและหัตถกรรม

  • gallery

ภูมิปัญญาท้องถิ่น อุตสาหกรรมและหัตถกรรม

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

นายพลเทพ บุญหมื่น หมู่ 11 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

 (เฮือนศิริศิลป์เวียงกุมกาม)

 01.jpg (66 KB)

  1. การต้องลายหรือตอกลาย

          การต้องลาย “การต้องลาย” เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของชาวล้านนา ต้องใช้ความประณีตในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่สวยงามอ่อนช้อยตามแบบของล้านนา การต้องลาย หรือการต๋งลายของล้านนา หมายถึง การตอกลายลงบนแผ่นโลหะ ทางภาคกลางเรียกว่า การบุดุนโลหะ เพื่อให้เกิดความต่างระดับ มิติสูง ต่ำ ของลวดลาย ลักษณะเด่นของการต้องลายล้านนา คือ การแกะลายทั้งสองด้าน แล้วใช้วิธีการดุนลายจากด้านในให้นูนตามโครงร่างรอบนอกของลายก่อน แล้วจึงใช้วิธีการตอกลายจากด้านนอกเข้าไปเพื่อทำรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

01.1.jpg (206 KB)  01.2.jpg (209 KB)

  1. การทำโคม

          ในช่วงก่อนจะถึงวันเพ็ญเดือนยี่ ชาวล้านนาที่มีฝีมือเชิงช่างจะประดิษฐ์โคมรูปลักษณะต่างๆ เพื่อเตรียมใช้ในการจุดผางประทีปบูชาที่วัดในวันเพ็ญเดือนยี่ โดยการแขวนใส่ค้างโคมบูชาตามพระธาตุเจดีย์ แขวนไว้หน้าวิหาร กลางวิหาร หรือในปัจจุบันนิยมแขวนประดับตกแต่งตามอาคารบ้านเรือน โคมล้านนามีลักษณะหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่การสร้างสรรค์ตามภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น โคมต่างๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่เฮียะ นำมาหักขึ้นเป็นโครง ติดกระดาษสาหรือกระดาษแก้ว ผ้าดิบ ตัดลายกระดาษสีเงิน สีทอง ประดับตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม โคมยี่เป็งแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันที่รูปทรงและการประดับตกแต่งลวดลาย เป็นรูปแบบเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น

02.jpg (94 KB)

 

03.jpg (157 KB)  04.jpg (110 KB)

ประเภทของโคมยี่เป็งที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

1) โคมรังมดส้ม (โคมธรรมจักร)

05.jpg (207 KB) 06.jpg (169 KB)

          โคมรังมดส้ม บ้างเรียกว่า โคมเสมาธรรมจักร มีรูปทรงที่เหมือนรังมดส้ม (มดแดง) และรูปทรงเป็นแปดเหลี่ยม  จึงเรียกว่า ธรรมจักร โคมรังมดส้มนี้ ใช้ไม้ไผ่เฮียะ เหลาให้เป็นเส้น กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร   หนาประมาณ ๒ - ๓ มิลลิเมตร นำมาหักเป็น ๑๖, ๒๔ เหลี่ยมหรือตามต้องการ นำมาผูกด้วยด้ายให้แน่น เมื่อมัดโครงเสร็จแล้ว นำไม้เฮียะที่เตรียมไว้มาหักมุม เพื่อทำหูโคมเป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อทำเป็นโครงสำเร็จแล้ว ติดกระดาษรอบโครง ปล่อยส่วนบนไว้ เพื่อเป็นช่องใส่ผางประทีส และให้อากาศเข้ามาในโคมได้

07.jpg (191 KB)

2) โคมไห

          โคมไห ตัวโคมมีลักษณะเป็นคล้ายไห เนื่องจากด้านบนหรือปากโคมกว้างกว่าส่วนล่างหรือก้นโคม ด้านบนหักเป็นมุมหกเหลี่ยม ด้านล่างหรือส่วนก้นหักเป็นมุมสี่เหลี่ยม ด้านบนสุดทำเป็นรูปสามเหลี่ยม 4 อัน เป็นหูโคม ตัวโครงโคมทำจากไม้ไผ่เฮียะทรงเรียวยาวพองาม ประดับตกแต่งด้วยกระดาษสา และลวดลายพื้นเมือง แต่งหางโคมให้งดงามด้วยการตัดกระดาษเป็นลวดลาย ทำป่องหรือปากไว้จุดผางประทีป โคมชนิดนี้ใช้จุดบูชาได้ทั่วไป

08.jpg (29 KB)

3) โคมกระจัง

          โคมกระจัง หรือโคมกระจังมงกุฎ มีรูปทรงคล้ายกระจังสวมมงกุฏ เป็นโคมรูปแบบสมัยใหม่ บ้างเรียกโคมไห เพราะขึ้นรูปแบบโคมไห แต่เอาส่วนปลายเป็นส่วนหัว ส่วนหัวเป็นส่วนปลายโคม ส่วนคำว่า กระจัง  คือลายไทยรูปแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายกลีบของดอกบัว หรือตาอ้อย ด้านข้างแยกปลายแหลมเหมือนถูกบาก  ลายไทยนี้ใช้ประดับตามขอบ เช่น ขอบของธรรมสาสน์ หรือขอบบนของลายหน้ากระดาน ลายกระจังมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น กระจังรวน กระจังปฏิญาณ กระจังใบเทศ กระจังหลังสิงห์ กระจังหู เป็นต้น

10.jpg (113 KB)4) โคมดาว

11.jpg (51 KB)

 

           โคมดาว เป็นโคมรูปดาว มีห้าแฉก ตัวโคมทำจากไม้ไผ่เฮียะ หักมุมเป็นห้ามุม ใช้กระดาษสาหรือผ้า   ติดหุ้มตัวโครง ตัดกระดาษสีเงินสีทองประดับตกแต่งลวดลาย ส่วนใหญ่ตกแต่งด้วยลายดวงตะวัน (พระอาทิตย์)      เป็นลายลักษณะรูปกลม เจาะช่องตรงกลางเป็นปล่องสำหรับใส่ผางประทีป เพื่อจุดเป็นพุทธบูชา

12.jpg (116 KB)

5) โคมกระบอก

 12.1.jpg (54 KB)  12.2.jpg (111 KB)

12.3.jpg (300 KB)

          โคมกระบอก เป็นโคมที่ทำง่ายกว่าโคมชนิดอื่นๆ เนื่องจากใช้ไม้ไผ่เหลาแบนกว้างประมาณ  ๑ เซนติเมตร หนา ๒- ๓ มิลลิเมตร ขดเป็นวงกลมเท่าๆ กัน ๒ วง ไว้เป็นโครงส่วนหัวและส่วนท้าย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ เซนติเมตร แล้วนำกระดาษสาด้านกว้างยาวกว่าเส้นรอบวงของไม้ไผ่ขดวงกลมประมาณ ๑- ๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๕ -๒๐ เซนติเมตร เมื่อติดกระดาษติดกาวแล้ว ตัดลวดลายประดับตกแต่ง โดยใช้กระดาษสีเงิน  สีทอง หรือสีอื่นๆ

6) โคมเงี้ยว เป็นโคมที่มีรูปทรงที่ได้มาจากชาวไทใหญ่ จึงเรียกว่า โคมเงี้ยว ทำค่อนข้างยากกว่าโคมชนิดอื่นๆ เนื่องจากตัวโครงโคมมีลักษณะหักมุมละเอียดซับซ้อน เป็นเหลี่ยมคล้ายเพชรที่เจียรนัย จึงมีชื่อเรียกอีกอย่าง  หนึ่งว่า โคมเพชร หรือ โคมเจียรนัย โคมชนิดนี้แม้ไม่ได้ใส่หางประดับก็มีความงดงาม และเมื่อจุดผางประทีป    ไว้ข้างใน แสงสว่างที่ออกตามเหลี่ยมมุม มีความงดงามมาก

 13.1.jpg (46 KB)  13.2.jpg (40 KB)

7) โคมหูกระต่าย

14.jpg (49 KB)

          โคมหูกระต่าย เป็นโคมยี่เป็งอีกชนิดหนึ่งที่ทำได้ง่าย ไม่ละเอียดซับซ้อน ฐานโคมเป็นไม้หนาประมาณ  ๕ มิลลิเมตร ทำเป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดประมาณ ๑๐ เซนติเมตร เจาะรูตรงมุมทั้งสี่มุม ใช้ไม้ไผ่  ยาวประมาณ ๒๕ – ๓๐ เซนติเมตร เหลาให้มีขนาดประมาณครึ่งเซนติเมตร ปักลงไปในรูที่เจาะไว้ทั้งสี่มุม ดัดไม้ไผ่เหลาเป็นรูปโค้งคล้ายหูกระต่าย หรือกลีบดอกบัว ให้ส่วนบนผายออกกว้างประมาณ ๑๕ เชนติเมตร   จะได้ตัวโคมที่มีปากบาน คล้ายหูกระต่าย ประดับตกแต่งด้วยกระดาษแก้วทั้งสี่ด้าน หรือใช้กระดาษสาก็ได โคมหูกระต่ายนี้ อาจจะทำฐานจากกาบกล้วย หรือลำต้นมะละกอก็ได้ และถ้าใช้ถือ ให้ใส่ด้ามถือยาวตามต้องการหรือปรับรูปทรงเป็นดอกบัว มีกลีบซ้อนได้ตามต้องการ

15.jpg (24 KB)  15.2.jpg (29 KB)

8) โคมผัด

 16.jpg (135 KB)  

16.2.jpg (120 KB)

          โคมผัด เป็นโคมลักษณะพิเศษ เพราะหมุนได้ คล้ายโคมเวียนของภาคกลาง คำว่า ผัด ในภาษาล้านนา แปลว่า หมุน โคมชนิดนี้เป็นรูปทรงกระบอกขนาดกว้างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๕๐ – ๗๐ เซนติเมตร  หุ้มด้วยกระดาษสาหรือกระดาษว่าวสีขาว ด้านในจะเป็นโครงโคมที่มีเส้นด้ายเวียนไปตามเสาโครงด้านในเป็นวงกลม ติดรูปภาพที่ตัดจากกระดาษสีดำ เป็นรูปพุทธประวัติ รูปพระเวสสันดรชาดก รูปนักษัตรปีเกิด รูปวิถีชีวิต ฯลฯ ส่วนด้านบน ติดกระดาษสา เจาะเป็นใบพัดช่องระบายอากาศ ใส่เข็มติดไว้กับไม้แกนกลางโครงตัวใน   นำมาวางอยู่บนถ้วยเล็กตรงแกนเสาโคม เมือจุดเทียนหรือผางประทีสข้างในตัวโคม ความร้อนจะดันใบพัดทำให้โคม ผัด หรือ หมุนฉายภาพ เรื่องราว ที่ประดับตกแต่งภายใน โคมผัดนี้ มักจะเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ เพราะมีลักษณะที่แปลกกว่าโคมชนิดอื่นๆ

17.jpg (128 KB)  

17.2.jpg (144 KB)

9) โคมแอว

18.1.jpg (170 KB)  18.2.jpg (113 KB)

          โคมแอว เป็นโคมที่ทำต่อกันจำนวนตั้งแต่สองลูกขึ้นไป รูปแบบของโคมคือโคมรังมดส้ม (โคมธรรมจักร) ต่อกันเป็นสายประมาณ ๒ – ๕ ลูก ต่อกัน ยาวตั้งแต่ ๑ – ๕ เมตร เป็นการสร้างสรรค์ออกแบบของช่างพื้นบ้านเพื่อขยายรูปทรงให้ยาวเชื่อมต่อกัน บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างโคมแต่ละลูก ใช้ไม้ไผ่เชื่อต่อ  4 จุด ส่วนนี้เรียกว่า แอว หรือ เอว นั่นเอง นิยมใช้แขวนกับค้างไม้ไผ่ (เสาสำหรับแขวนโคม) ที่ยาวๆ

 10) โคมญี่ปุ่น

19.1.jpg (134 KB)  19.2.jpg (185 KB)

          โคมญี่ปุ่น เป็นโคมที่ทำเลียนแบบโคมญี่ปุ่น จึงเรียกว่า โคมญี่ปุ่น พับเก็บได้ตามรอยพับ บ้างเรียกโคมชนิดนี้ว่า โคมหย้อ (คำว่า หย้อ แปลว่า ทำให้เล็กลง) ตัวโคมทำจากกระดาษว่าวมัน ทำให้มีความเหนียวและมัน สีสันสดใส วิธีการทำ มีแม่พิมพ์เป็นแบบ หลากหลายรูปทรง เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม รูปไข่ เป็นต้น   และราคาค่อนข้างจะถูกกว่าโคมทั่วๆ ไป

11) โคมจ้อง

20.jpg (161 KB)

  1. การทำเฮือสะเปา

            เฮือสะเปา คำว่า “สะเปา” เป็นคำเดียวกับคำว่า “สำเภา” โดยทั่วไป หมายถึง เรือเดินทะเลที่ใช้แล่นด้วยใบแต่ล้านนาจะหมายถึงเรือบรรทุก สำหรับในเขตวัฒนธรรมล้านนา โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงและแม่น้ำวัง อาทิ เชียงใหม่ ลำพูน และนครลำปาง ซึ่งเป็นเขตวัฒนธรรมหริภุญไชย (ก่อนล้านนา) มาแต่เดิมได้ปรากฏมีประเพณีลอยโขมดหรือลอยสะเปามาแต่โบราณแล้ว เพื่อการลอยเคราะห์ลอยบาปและอุทิศส่งของแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว  ประเพณีล่องสะเปา หรือลอยกระทง มีมาแต่โบราณกาลแล้ว เมื่อวันเดือนยี่เปิง ก็จะทำพิธีล่องสะเปา เป็นการลอยโดยความหมาย

  1. เป็นการลอยเคราะห์ลอยบาป ต้องการลดเคราะห์เสนียดจัญไรในตัวให้ไหลล่องไปตามน้ำใน เทศกาลเดือนยี่
  2. เป็นการลอยเพื่อส่งของแก่บรรพบุรุษ การลอยกระทงเพื่อส่งของแก่บรรพบุรุษ ตามคติความเชื่อของคนโบราณในนครหริภุญไชย ที่ส่งให้แก่ญาติพี่น้องในนครหงสาวดี ในสมัยต่อมาประชาชนยึดถือเป็นประเพณีปฏิบัติกันจนถึงทุกวันนี้ เป็นต้น

21.jpg

  21.2.jpg

   21.3.jpg    21.4.jpg

ประเพณีล่องสะเปา (ลอยกระทง) มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา คือ

          เมื่อประมาณ ๒๕๐๐ ปี ก่อนที่พระพุทธองค์ทรงสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ใต้ต้น

อสัตพฤกษ์โพธิใบใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ลุกลวันหนึ่ง นางสุชาดาอุบาสิกาผู้ใจบุญได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาธ

จำนวน ๔๙ ก้อน ใส่ถาดทองไปถวายพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้วพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า

ถ้าหากวันใดที่พระองค์สำเร็จเป็นพระพุทธจ้า ขอให้ถาดนี้ลอยทวนน้ำ และก็จะเป็นด้วยบุญญาภินิหาร หรือสัตยานิษฐานก็เหลือที่จะทราบได้ ถาดนั้นได้ลอยทวนน้ำห่มกลางความอัศจรรย์ใจของสาวใช้นางสุชาดา  เมื่อถาดนั้นลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเลและจมดิ่งลงไปถูกหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล ซึ่งกำลังนอนอย่างสบาย ครั้นถาดนั้นได้ถูกขดหางพระยานาคก็ตกใจตื่น เมื่อเห็นว่าเป็นอะไรแล้ว ก็ประกาศก้องในท้องสมุทรว่า บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกอีกองค์หนึ่ง บรรดาเทพารักษ์ทั้งหลายในโลก ครั้นทราบเรื่องต่างก็พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ส่วนพระยานาคก็ไปฝาพระพุทธองค์เหมือนกัน พร้อมกันนั้นก็ทูลขอร้องให้พระองค์ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำ เนรัญชรา เพื่อเขาจะได้มาถวายความเคารพ ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้กระทำตามฝ่ายสาวใช้นางสุขาดาก็ได้นำความไปแจ้ง ให้นายของตนทราบ ครั้นถึงวันนั้นของทุกๆ ปี นางสุชาดาก็จะนำเอาเครื่องหอมและดอกไม้ใส่ถาดไม้ไปลอยน้ำ เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท เป็นประจำเสมอมาจนกระทั่งได้กลายเป็นประเพณีแพร่หลายเข้ามาในประทศๆ ซึ่งได้มีการดัดแปลงแก้ไขไห้เหมาะสมตามกาลมัย จึงเป็นเรื่องของชาดก ซึ่งสันนิษฐานว่าประเพณีการลอยกระทงมีประวัติเป็นมาดังกล่าว

22.1.jpg

22.2.jpg

  1. การทำตุง

          ตุงล้านนา คำว่า ตุง ในภาษาถิ่นล้านนา หมายถึง ธง ในภาษาไทยภาคกลาง ตรงกับลักษณะประเภท ปกาฏะ ของอินเดีย คือมีลักษณะเป็นแผ่นวัสดุ ส่วนปลายแขวนติดกับเสา ห้องเป็นแผ่นยาวลงมา วัสดุที่ใช้ทำตุงนั้นมีหลายอย่าง เช่น ไม้ สังกะสี ทองเหลือง ผ้า กระดาษ ใบลาน เป็นต้น  ตุง เป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีทางพุทธศาสนา ทั้งในงานมงคลและอวมงคลต่าง ๆ

จุดประสงค์ของการทำตุงในล้านนามีดังนี้ คือ

          - ถวายเป็นพุทธบูชา สร้างให้แก่ตนเองและผู้ล่วงลับไปแล้ว จะได้พ้นจากเวรกรรมและได้ขึ้นสวรรค์-

ประดับประดาศาสนสถาน ศาสนาวัตถุ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง เช่น งานปอยหลวง เป็นต้น

          - เพื่อสะเดาะเคราะห์ ขจัดภัยพิบัติต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป โดยเฉพาะภัยที่เชื่อว่าเกิดจากภูตผีปีศาจ หรือบาปกรรมทั้งหลาย

          - ใช้ในทางไสยศาสตร์ ทำเสน่ห์บูชาผีสางเทวดา

          - ใช้ในพิธีกรรมและเทศกาลต่าง ๆ เช่น พิธีสวดมนต์ พิธีสืบชะตา การขึ้นท้าวทั้งสี่ การตั้งธรรมหลวง งานปอยหลวง ทอดกฐิน ประเพณีสงกรานต์

 ประเภทของตุง

  1. ตุง ที่ใช้ในงานพิธีมงคล  เพื่อประดับตกแต่งสถานที่ที่มีงานสมโภชฉลองถาวรวัตถุ ทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความสวยงาม เป็นเครื่องหมายนำทางไปสู่บริเวณงาน มีดังนี้

          ตุงไชย (ตุงไจย) เป็นตุงขนาดใหญ่ รูปสี่เหลี่ยมผืนยาว ถือว่ายิ่งยาวยิ่งมีอานิสงค์มาก ตุง ไชยทำด้วยผ้า เส้นฝ้าย เส้นไหม ซึ่งจะทอเป็นใยโปร่ง มีการตกแต่งประดับประดา บ้างก็ทักทอเป็นลวดลายต่าง ๆ อย่างสวยงาม ถ้าผืนยาวมากมักใช้ไม่ไผ่ลำโต ทำเป็นเสาตุงใช้ในงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ชาวบ้านจะช่วยกันทำตุงไชยมาปักเรียงรายตามสองข้างทางที่จะเข้าสู่วัด การที่นำตุงไชยมาปักเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ นอกจากปักได้สองข้างทางเข้าวัดแล้ว ยังมีการประดับประดาไว้ รอบศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ที่ทำพิธีฉลองกันด้วย

23.1.jpg   23.2.jpg

23.3.jpg

ตุงใย (ตุงใยแมงมุม) คือ ตุงที่ทำด้วยเส้นด้ายหรือเส้นไหม ผูกกันคล้ายใยแมงมุม เพื่อใช้ในพิธีสำคัญทางศาสนาเช่นเดียวกับตุงไชย หรือแขวนไว้ในวิหารหน้าพระประธานถวายเป็นพุทธบูชา การทำตุงชนิดนี้ขึ้นอยู่กับความนิยมของแต่ละหมู่บ้าน

24.jpg  24.2.jpg

ตุงไส้หมู

      ศิลปะการตัดกระดาษให้เป็น “ตุงไส้หมู” เป็นองค์ความรู้ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งชาวล้านนาจะใช้ในพิธีทางศาสนา หรือกิจกรรมทางประเพณีของชาวล้านนา โดยเฉพาะชนกลุ่มไท ได้แก่ ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทยอง ไทใหญ่  เป็นต้น ประเพณีปี๋ใหม่ (สงกรานต์) ในพิธีกรรม หรือประเพณีดังกล่าว ชาวล้านนาจะจัดเตรียมข้าวของต่างๆ สำหรับใช้ในพิธีใน “วันแต่งดา” คือวันสุกดิบ หรือวันเตรียมข้าวของ ซึ่งจะจัดทำก่อนหน้างานประมาณ ๑ วัน สล่าตัดตุงไส้หมู (สล่า แปลว่า ช่าง) หรือผู้ที่สามารถตัดตุงไส้หมูได้ ก็จะนำกระดาษสีต่างๆ มาตัดให้เป็นตุงไส้หมู แล้วนำไปผูกกับไม้ไผ่ซึ่งเหลาเป็นแท่งกลม ยาวประมาณ ๑ เมตร หรือนำไปผูกกับก้าน “ต้นเขือง” (ต้นเต่าร้าง) เพื่อเตรียมไปปักยังเจดีย์ทรายภายในลานวัดในวันพญาวัน หรือวันมหาสงกรานต์ ซึ่งส่วนใหญ่จะตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกปี

25.1.jpg  25.2.jpg 

25.3.jpg 25.4.jpg

 ตุงกระด้าง เป็น ตุงที่ทำด้วยวัสดุคงรูป ผืนตุงทำด้วยไม้แกะสลักบ้าง ปูนปั้นบ้าง หรือบางครั้งก็เป็นโลหะแผ่นฉลุลาย นอกจากนี้ยังมี การประดับตกแต่งด้วยกระจกปั้นปูนเป็นลวดลายต่าง ๆ หรือฉลุเป็นลวดลายประดับบนผืนตุง ตุงกระด้างนี้ ผู้สร้างมักเป็นผู้บรรดาศักดิ์สูง หรือมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอเพราะวัสดุที่ ใช้ตั้งแต่ผืนธงจนการประดับตกแต่งต่างมีราคาสูง และต้องใช้ช่างฝีมือที่ประณีต ซึ่งการสร้าง ก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

  26.jpg

          ตุงขอนงวงช้าง หรือตุงขอนก๋ม มีลักษณะเป็นวงแหวน ทำด้วยไม้ไผ่ มัดโยงกันเป็นปล้องหุ้มด้วยกระดาษสีต่าง ๆ มักผูกติดไว้บริเวณหน้าพระประธาน

 

          ตุงตัวเปิ้ง คือตุงประจำปีเกิด เป็นตุงทำด้วยกระดาษ หรือผ้าทอ, พิมพ์หรือเขียนเป็นรูปสัตว์ประจำปีเกิด นิยมปักบนเจดีย์ทรายในเทศกาลสงกรานต์ หรือแขวนบริเวณหน้าพระประธาน

27.jpg

 

          ตุงราว คือตุงขนาดเล็ก มักทำด้วยกระดาษฉลุเป็นลวดลายบนผืนตุง รูปทรงสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมแบบยาว บางครั้งตัดเป็นรูปคล้ายรูปคน ใช้แขวนเชือกเป็นแนวยาวสลับสีกัน โยงตามเสาของศาลาธรรมหรือประรำพิธี หรือในวิหารที่มีพิธีกรรมทางศาสนา

28.jpg

          ตุงตะขาบ ตุงจระเข้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีรูปตะขาบหรือจระเข้ อยู่บนผืนตุงใช้ในงานทอดกฐิน

ตุงดอกบ้อง หรือตุงไส้หมู เป็นตุงที่มีรูปร่างทรงจอมแห ทำจากกระดาษสีต่างผูกติดกับกิ่งไม้ หรือก้านไม้ไผ่เล็ก ๆ ตุงนี้ใช้ในเทศกาลสงกรานต์ โดยปักบนกองเจดีย์ทราย หรือประดับเครื่องไทยทานต่าง ๆ

  

29.jpg

 

ตุงค่าคิง เป็นตุงที่มีรูปร่างยาวแคบ ความยาวเท่ากับความสูงองผู้ทำพิธี ผืนตุงทำด้วยกระดาษสีขาว  อาจตกแต่งลวดลายด้วยกระดาษเงิน กระดาษทอง ตุงค่าคิงที่ใช้ในงานขึ้นบ้านใหม่ที่มีพิธีสืบชาตาพิธีสะเดาะเคราะห์ หรือปักบูชากองเจดีย์ทราย

30.jpg

         ตุงพระบด,พระบฏ,พระบฎ เป็นตุงที่มีลักษณะเป็นผืนผ้าใบหรือกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดต่าง ๆ ส่วนมากประมาณ 80 คูณ 100 เซนติเมตร กรอบทั้งสี่ด้านทำด้วยไม้ทำให้ตึง ตุงพระบฎจะเป็นรูปพระพุทธรูปประทับยืน ปางลีลา หรือบางเปิดโลก ลักษณะของการใช้งาน ตุงพระบฎใช้ประดับไว้ด้านหลังของพระประธานในโบสถ์ นอกจากจะใช้ประดับสองข้างพระประธานแล้ว บางแห่งใช้กับพิธีกรรมความเชื่ออีกด้วย เช่น ตุงพระบฏ ที่ใช้ในพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะที่บ้านแม่เหียะ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

30.1.jpg    30.2.jpg

  1. ตุงที่ใช้ในการประกอบพิธีงานอวมงคล ได้แก่

          ตุงสามหาง เป็นตุงที่อาจเรียกชื่อว่า ตุงรูปคนหรือตุงผีตาย ใช้สำหรับนำหน้าศพในสู่สุสานหรือเชิงตะกอน เป็นตุงที่ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อรวมลักษณะแทนตัวคนเราไว้ด้วยกัน คือส่วนหัวและลำตัวคือส่วนที่กางออกเป็นแขนขาซึ่งบางท่านกล่าวว่าเป็นคติ นิยมเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด เพื่อเน้นธรรมานุสติถึงความหลุดพ้น ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตุงชนิดนี้บางท้องที่ (ลำปาง) เรียกตุงฮ่างคน หรือตุงอ่องแอ่ง ตุงแดง, ตุงผีตายโหง, ตุงค้างแดง มีความยาว 4-6 ศอก กว้างประมาณ 1 คืบเศษๆ แบ่งความยาวออกเป็น 4 ท่อน   ชายด้ายล่างทำเป็น สามชาย ประดับตกแต่งให้สวยงาม การใช้งานใช้ในพิธีสูตรถอนศพที่ตายผิดปกติ เช่นตายเพราะอุบัติเหตุต่างๆ จะใช้ตุงปักไว้บริเวณที่ตาย ก่อเจดีย์ทรายเท่ากับอายุของผู้ตาย ปักช่อน้อยบนเจดีย์ทรายให้ครบ เมื่อเห็นตุงแดงและก่อทรายช่อน้อย ณ จุดใด ก็หมายถึงว่าบริเวณดังกล่าว มีคนตายไม่ดี ไม่งาม

31.jpg

 

          ตุงเหล็ก, ตุงตอง ทำด้วยแผ่นสังกะสีหรือแผ่นทองเหลืองขนาดเล็กยาวประมาณ 1 คืบ กว้างประมาณ 2 นิ้ว มีคันตุงทำจากเส้นลวดหรือไม้ไผ่ก็ได้ ส่วนมากจะทำอย่างละ 108 อัน มัดติดเป็นพวงโดยทำฐาน ตั้งไว้ หรือบางแห่งจะวางไว้บนโลงศพ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ชาวบ้านมักจะนำมาไว้ที่วัด ตามฐานชุกชี เมื่อจำเป็นต้องใช้งานอีก ก็ไม่ต้องทำขึ้นมาใหม่

32.jpg

          ตุงขอนนางผาน มีลักษณะเป็นตุงขนาดเล็กประดับอยู่ที่ปลายทั้งสองข้างของก้นไม้เล็ก ๆ ที่ติดขวางบนตุงผืนใหญ่ที่เป็นระยะ ๆ บางครั้งทำเป็นรูปทรงคล้ายพู่ห้อย ตุงนี้ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายที่ฐานะยากจนหรือไร้ญาติ 

33.jpg

 

 

ลิงค์ภายนอก