สายด่วนนายก 093-130-3409
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)
แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลท่าวังตาล
หน้าแรก » แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น และ สินค้า OTop » 7: : ภูมิปัญญาท้องถิ่น อุตสาหกรรมและหัตถกรรม : :
ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
นายพลเทพ บุญหมื่น หมู่ 11 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
(เฮือนศิริศิลป์เวียงกุมกาม)
การต้องลาย “การต้องลาย” เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของชาวล้านนา ต้องใช้ความประณีตในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่สวยงาม อ่อนช้อยตามแบบของล้านนา เดิมมีการดุนสลักเงินเป็นหลัก แต่มาถึงปัจจุบันเนื้อเงินมีราคาสูงขึ้น จึงทำให้ช่างดุนเงินเปลี่ยนเป็นโลหะแทน ซึ่งทำให้ได้ชิ้นงานไม่ต่างกันมากนัก และยังสามารถสร้างรูปแบบใหม่ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น การต้องลาย หรือการต๋งลายของล้านนา หมายถึง การตอกลายลงบนแผ่นโลหะ ทางภาคกลางเรียกว่า การบุดุนโลหะ เพื่อให้เกิดความต่างระดับ มิติสูง ต่ำ ของลวดลาย ลักษณะเด่นของการต้องลายล้านนา คือ การแกะลายทั้งสองด้าน แล้วใช้วิธีการดุนลายจากด้านในให้นูนตามโครงร่างรอบนอกของลายก่อน แล้วจึงใช้วิธีการตอกลายจากด้านนอกเข้าไปเพื่อทำรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลักษณะลวดลาย ประกอบด้วย ลายเบา เป็นลายที่ช่างใช้เครื่องมือตอกลงไปบนภาชนะเพื่อให้เกิดลวดลายบนพื้นผิวโดยไม่มีมิติความสูงต่ำ ลายนูนต่ำ เป็นลายที่เกิดจากการตอกลายด้านในเพื่อให้นูนเห็นลวดลายด้านนอกและลายนูนสูง เป็นขั้นตอนการทำลายที่สลับซับซ้อนมาก ต้องมีสมาธิ ใจเย็น และความอดทนสูง
ในช่วงก่อนจะถึงวันเพ็ญเดือนยี่ ชาวล้านนาที่มีฝีมือเชิงช่างจะประดิษฐ์โคมรูปลักษณะต่างๆ เพื่อเตรียมใช้ในการจุดผางประทีปบูชาที่วัดในวันเพ็ญเดือนยี่ โดยการแขวนใส่ค้างโคมบูชาตามพระธาตุเจดีย์ แขวนไว้ หน้าวิหาร กลางวิหาร หรือในปัจจุบันนิยมแขวนประดับตกแต่งตามอาคารบ้านเรือน โคมล้านนามีลักษณะหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่การสร้างสรรค์ตามภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น โคมรูปแบบโบราณที่พบทั่วไปในล้านนา เช่น โคมรังมดส้ม (โคมธรรมจักร) โคมดาว โคมไห โคมเงี้ยว (โคมเพชร) โคมกระบอก โคมหูกระต่าย โคมดอกบัวโคมญี่ปุ่น โคมผัด ฯลฯ ในปัจจุบันมีการประดิษฐ์โคมรูปแบบใหม่ เช่น โคมรูปจรวด รูปเครื่องบิน โคมร่ม โคมปราสาท ฯลฯ โคมต่างๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่เฮียะ นำมาหักขึ้นเป็นโครง ติดกระดาษสาหรือกระดาษแก้ว ผ้าดิบ ตัดลายกระดาษสีเงิน สีทอง ประดับตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม โคมยี่เป็งแต่ละชนิด มีความแตกต่างกันที่รูปทรงและการประดับตกแต่งลวดลาย เป็นรูปแบบเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น
ประเภทของโคมยี่เป็งที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
1) โคมรังมดส้ม (โคมธรรมจักร)
โคมรังมดส้ม บ้างเรียกว่า โคมเสมาธรรมจักร มีรูปทรงที่เหมือนรังมดส้ม (มดแดง) และรูปทรงเป็นแปดเหลี่ยม จึงเรียกว่า ธรรมจักร โคมรังมดส้มนี้ ใช้ไม้ไผ่เฮียะ เหลาให้เป็นเส้น กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร หนาประมาณ ๒ - ๓ มิลลิเมตร นำมาหักเป็น ๑๖, ๒๔ เหลี่ยมหรือตามต้องการ นำมาผูกด้วยด้ายให้แน่น เมื่อมัดโครงเสร็จแล้ว นำไม้เฮียะที่เตรียมไว้มาหักมุม เพื่อทำหูโคมเป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อทำเป็นโครงสำเร็จแล้ว ติดกระดาษรอบโครง ปล่อยส่วนบนไว้ เพื่อเป็นช่องใส่ผางประทีส และให้อากาศเข้ามาในโคมได้ ตัดลวดลาย อาจจะเป็นลายดอกก๋ากอก (ลายประจำยาม) ลายตะวัน สำหรับประดับตกแต่ง หลังจากนั้นติด หางโคม สำหรับกระดาษที่ใช้ทำโคม อาจใช้กระดาษแก้วหลากสีเป็นอุปกรณ์ทำโคม ถ้าใช้กระดาษสี ไม่นิยมประดับด้วยลวดลาย โคมรังมดส้มใช้จุดเป็นพุทธบูชา
2) โคมไห
โคมไห ตัวโคมมีลักษณะเป็นคล้ายไห เนื่องจากด้านบนหรือปากโคมกว้างกว่าส่วนล่างหรือก้นโคม ด้านบนหักเป็นมุมหกเหลี่ยม ด้านล่างหรือส่วนก้นหักเป็นมุมสี่เหลี่ยม ด้านบนสุดทำเป็นรูปสามเหลี่ยม 4 อัน เป็นหูโคม ตัวโครงโคมทำจากไม้ไผ่เฮียะทรงเรียวยาวพองาม ประดับตกแต่งด้วยกระดาษสา และลวดลายพื้นเมือง แต่งหางโคมให้งดงามด้วยการตัดกระดาษเป็นลวดลาย ทำป่องหรือปากไว้จุดผางประทีป โคมชนิดนี้ใช้จุดบูชาได้ทั่วไป บ้างเรียกว่า โคมเพชร หมายถึง ความสวยงามอร่ามตา บ้างนิยมให้เป็นของขวัญในโอกาสขึ้นบ้านใหม่ หมายถึงหม้อเงิน หม้อทอง ไหเงิน ไหทอง ถ้าให้เป็นของขวัญในงานแต่งงาน เป็นนิมิตรหมายให้ โชคลาภ ปัจจุบันมีการนำรูปแบบของโคมไหมาทำเป็นโคมไฟประดับบ้าน โดยใช้วัสดุผ้าหุ้มตัวโครง
3) โคมกระจัง
โคมกระจัง หรือโคมกระจังมงกุฎ มีรูปทรงคล้ายกระจังสวมมงกุฏ เป็นโคมรูปแบบสมัยใหม่ บ้างเรียกโคมไห เพราะขึ้นรูปแบบโคมไห แต่เอาส่วนปลายเป็นส่วนหัว ส่วนหัวเป็นส่วนปลายโคม ส่วนคำว่า กระจัง คือลายไทยรูปแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายกลีบของดอกบัว หรือตาอ้อย ด้านข้างแยกปลายแหลมเหมือนถูกบาก ลายไทยนี้ใช้ประดับตามขอบ เช่น ขอบของธรรมสาสน์ หรือขอบบนของลายหน้ากระดาน ลายกระจังมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น กระจังรวน กระจังปฏิญาณ กระจังใบเทศ กระจังหลังสิงห์ กระจังหู เป็นต้น
4) โคมดาว
โคมดาว เป็นโคมรูปดาว มีห้าแฉก ตัวโคมทำจากไม้ไผ่เฮียะ หักมุมเป็นห้ามุม ใช้กระดาษสาหรือผ้า ติดหุ้มตัวโครง ตัดกระดาษสีเงินสีทองประดับตกแต่งลวดลาย ส่วนใหญ่ตกแต่งด้วยลายดวงตะวัน (พระอาทิตย์) เป็นลายลักษณะรูปกลม เจาะช่องตรงกลางเป็นปล่องสำหรับใส่ผางประทีป เพื่อจุดเป็นพุทธบูชา
5) โคมกระบอก
โคมกระบอก เป็นโคมที่ทำง่ายกว่าโคมชนิดอื่นๆ เนื่องจากใช้ไม้ไผ่เหลาแบนกว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร หนา ๒- ๓ มิลลิเมตร ขดเป็นวงกลมเท่าๆกัน ๒ วง ไว้เป็นโครงส่วนหัวและส่วนท้าย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ เซนติเมตร แล้วนำกระดาษสาด้านกว้างยาวกว่าเส้นรอบวงของไม้ไผ่ขดวงกลมประมาณ ๑- ๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๕ -๒๐ เซนติเมตร เมื่อติดกระดาษติดกาวแล้ว ตัดลวดลายประดับตกแต่ง โดยใช้กระดาษสีเงิน สีทอง หรือสีอื่นๆ ลวดลายประดับส่วนใหญ่นิยมใช้ลายสร้อยดอกหมาก ส่วนท้ายหรือก้นกระบอกปิดด้วยกระดาษแข็งสำหรับวางผางประทีส เพื่อจุดเป็นพุทธบูชา โคมกระบอกมีทั้งทรงกลมและทรงสี่เหลี่ยม สำหรับทรงเหลี่ยมบ้างเรียก โคมล้อ เนื่องจากคล้ายโคม ที่ใช้แขวนติดกับขบวนเกวียนที่พ่อค้าวัวต่าง ใช้เดินทางในยามค่ำคืน
6) โคมเงี้ยว เป็นโคมที่มีรูปทรงที่ได้มาจากชาวไทใหญ่ จึงเรียกว่า โคมเงี้ยว ทำค่อนข้างยากกว่าโคมชนิดอื่นๆ เนื่องจากตัวโครงโคมมีลักษณะหักมุมละเอียดซับซ้อน เป็นเหลี่ยมคล้ายเพชรที่เจียรนัย จึงมีชื่อเรียกอีกอย่าง หนึ่งว่า โคมเพชร หรือ โคมเจียรนัย โคมชนิดนี้แม้ไม่ได้ใส่หางประดับก็มีความงดงาม และเมื่อจุดผางประทีป ไว้ข้างใน แสงสว่างที่ออกตามเหลี่ยมมุม มีความงดงามมาก
7) โคมหูกระต่าย
โคมหูกระต่าย เป็นโคมยี่เป็งอีกชนิดหนึ่งที่ทำได้ง่าย ไม่ละเอียดซับซ้อน ฐานโคมเป็นไม้หนาประมาณ ๕ มิลลิเมตร ทำเป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดประมาณ ๑๐ เซนติเมตร เจาะรูตรงมุมทั้งสี่มุม ใช้ไม้ไผ่ ยาวประมาณ ๒๕ – ๓๐ เซนติเมตร เหลาให้มีขนาดประมาณครึ่งเซนติเมตร ปักลงไปในรูที่เจาะไว้ทั้งสี่มุม ดัดไม้ไผ่เหลาเป็นรูปโค้งคล้ายหูกระต่าย หรือกลีบดอกบัว ให้ส่วนบนผายออกกว้างประมาณ ๑๕ เชนติเมตร จะได้ตัวโคมที่มีปากบาน คล้ายหูกระต่าย ประดับตกแต่งด้วยกระดาษแก้วทั้งสี่ด้าน หรือใช้กระดาษสาก็ได้ โคมหูกระต่ายนี้ อาจจะทำฐานจากกาบกล้วย หรือลำต้นมะละกอก็ได้ และถ้าใช้ถือ ให้ใส่ด้ามถือยาวตามต้องการหรือปรับรูปทรงเป็นดอกบัว มีกลีบซ้อนได้ตามต้องการ
8) โคมผัด
โคมผัด เป็นโคมลักษณะพิเศษ เพราะหมุนได้ คล้ายโคมเวียนของภาคกลาง คำว่า ผัด ในภาษาล้านนา แปลว่า หมุน โคมชนิดนี้เป็นรูปทรงกระบอกขนาดกว้างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๕๐ – ๗๐ เซนติเมตร หุ้มด้วยกระดาษสาหรือกระดาษว่าวสีขาว ด้านในจะเป็นโครงโคมที่มีเส้นด้ายเวียนไปตามเสาโครงด้านในเป็นวงกลม ติดรูปภาพที่ตัดจากกระดาษสีดำ เป็นรูปพุทธประวัติ รูปพระเวสสันดรชาดก รูปนักษัตรปีเกิด รูปวิถีชีวิต ฯลฯ ส่วนด้านบน ติดกระดาษสา เจาะเป็นใบพัดช่องระบายอากาศ ใส่เข็มติดไว้กับไม้แกนกลางโครงตัวใน นำมาวางอยู่บนถ้วยเล็กตรงแกนเสาโคม เมือจุดเทียนหรือผางประทีสข้างในตัวโคม ความร้อนจะดันใบพัดทำให้โคม ผัด หรือ หมุนฉายภาพ เรื่องราว ที่ประดับตกแต่งภายใน โคมผัดนี้ มักจะเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ เพราะมีลักษณะที่แปลกกว่าโคมชนิดอื่นๆ
9) โคมแอว
โคมแอว เป็นโคมที่ทำต่อกันจำนวนตั้งแต่สองลูกขึ้นไป รูปแบบของโคมคือโคมรังมดส้ม (โคมธรรมจักร) ต่อกันเป็นสายประมาณ ๒ – ๕ ลูก ต่อกัน ยาวตั้งแต่ ๑ – ๕ เมตร เป็นการสร้างสรรค์ออกแบบของช่างพื้นบ้านเพื่อขยายรูปทรงให้ยาวเชื่อมต่อกัน บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างโคมแต่ละลูก ใช้ไม้ไผ่เชื่อต่อ 4 จุด ส่วนนี้เรียกว่า แอว หรือเอว นั่นเอง นิยมใช้แขวนกับค้างไม้ไผ่ (เสาสำหรับแขวนโคม) ที่ยาวๆ หรือตั้งกับพื้นเพื่อประดับตกแต่งอาคารสถานที่ต่างๆ บ้างนำหลอดไฟติดไว้ข้างใน เพื่อให้เกิดแสงสว่าง เนื่องจากตัวโคมยาว ประทีสที่ใช้จุดอาจสว่างไม่เพียงพอ
10) โคมญี่ปุ่น
โคมญี่ปุ่น เป็นโคมที่ทำเลียนแบบโคมญี่ปุ่น จึงเรียกว่า โคมญี่ปุ่น พับเก็บได้ตามรอยพับ บ้างเรียกโคมชนิดนี้ว่า โคมหย้อ (คำว่า หย้อ แปลว่า ทำให้เล็กลง) ตัวโคมทำจากกระดาษว่าวมัน ทำให้มีความเหนียวและมัน สีสันสดใส วิธีการทำ มีแม่พิมพ์เป็นแบบ หลากหลายรูปทรง เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม รูปไข่ เป็นต้น และราคาค่อนข้างจะถูกกว่าโคมทั่วๆ ไป
11) โคมจ้อง
เฮือสะเปา คำว่า “สะเปา” เป็นคำเดียวกับคำว่า “สำเภา” โดยทั่วไป หมายถึง เรือเดินทะเลที่ใช้แล่นด้วยใบแต่ล้านนาจะหมายถึงเรือบรรทุก สำหรับในเขตวัฒนธรรมล้านนา โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงและแม่น้ำวัง อาทิ เชียงใหม่ ลำพูน และนครลำปาง ซึ่งเป็นเขตวัฒนธรรมหริภุญไชย (ก่อนล้านนา) มาแต่เดิมได้ปรากฏมีประเพณีลอยโขมดหรือลอยสะเปามาแต่โบราณแล้ว เพื่อการลอยเคราะห์ลอยบาปและอุทิศส่งของแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีล่องสะเปา หรือลอยกระทง มีมาแต่โบราณกาลแล้ว เมื่อวันเดือนยี่เปิง ก็จะทำพิธีล่องสะเปา เป็นการลอยโดยความหมาย
วันล่องสะเปา (ลอยกระทง)
กระทงเล็กๆ ที่ชาวบ้านทำขึ้นนั้น นิยมลอยตามแม่น้ำคลอง หนองบึงใกล้ๆ บ้านของตนทำกันเป็นส่วนตัวและครอบครัว นิยมลอยกันในวันเดือนยี่ขึ้น 14-15 ค่ำ ส่วนกระทงใหญ่ที่จัดกันเป็นส่วนรวมแห่แหน เป็นขบวนนั้น นิยมกันในวันแรม 1 ค่ำ เพราะวันเพ็ญไม่สะดวกเนื่องจากอุบาสกอุบาสิกาต้องไปทำบุญ ฟังเทศน์กันทุ วัดวาอาราม ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีเดือนยี่ของภาคเหนือ
ประวัติความเป็นมาของประเพณีล่องสะเปา (ลอยกระทง) ของภาคเหนือ
ประเพณีลอยกระทงในภาคเหนือ ที่เรียกตามหนังสือตำนานโยนกและจามเทวีวงศ์ว่าเป็นประเพณีที่สนุกครึกครื้นมา แม้ว่าจะไม่เป็นการใหญ่โตเหมือนปัจจุบัน คือ ก่อนจะถึงวันเพ็ญ เดือน 12 ได้จัดการปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาดเรียบร้อย ประดับประดาด้วยช่อตุง (ธงทิว) จัดเปลี่ยนดอกไม้ในแจกันกันหิ้งพระ จัดเตรียมประทีปหรือเทียนขี้ผึ้งไว้สำหรับจุดบูชาพระ ที่ประตูหน้าบ้านก็จะหาต้นกล้วย ต้นอ้อย ก้านมะพร้าวหรือไม้อื่นๆ มาประดิษฐ์ทำเป็นซุ้มประตูป่าต่างๆ ให้เป็นที่สวยงาม บ้างก็จัดหาดอกบานไม่รู้โรยหรือที่เมืองเหนือเรียกว่า "ดอกตะล่อม” มาร้อยเป็นอุบะห้อยตามขอบประตูบ้าน ประตูเรือน หรือประตูห้อง หรือหิ้งบูชาพระ ผู้มีศรัทธาแรงกล้าถึงกับทำมากๆ แล้วนำไปประดับประดาตามวัดเป็นพุทธบูชา หรือเมื่อประดับประดาดอกไม้เรียบร้อย แล้วก็หาประทีปมาเตรียมไว้เพื่อจะใช้ตามไฟในงาน
ขณะเดียวกันตามวัดวาอารามหรือสถานที่สำคัญที่จะจัดสถานที่ให้สวยงามเป็นพิเศษ ที่ซุ้มประตูของวัด และในพระวิหารก็จัดตกแต่งด้วยดอกไม้ โคมไฟสวยงามและบ้างก็ประดิษฐ์โคมไฟชนิดหนึ่ง รอบๆจะมีรูปสัตว์ต่างๆ อยู่ภายในโคมแขวนหรือตั้งไว้ในวัด เมื่อจุดไฟแล้วจะมองเห็นภาพต่างๆ อยู่ภายในโคมนี้ ตามภาษาพื้นเมืองเรียกว่า "โคมผัด” ในงานวันนั้นรอบๆ บริเวณก็จะจุดไฟด้วยเทียน หรือตั้งประทีปไว้รอบๆ เพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงพระพุทธจ้า นอกจากมีการประดับประดาโคมไฟแล้วทุกวัดก็จะมีการทำบุญทางศาสนา ในตอนเช้าของวันเพ็ญและมีการฟังเทศน์ให้ฟังกันอย่างสนุกสนาน และได้เนื้อหาทางศีลธรรมพร้อมๆ กันไป ซึ่งก็มักจะนิยมให้ท่านเทศน์กัณฑ์มัทรี ชูชกหรือที่เมืองเหนือเรียก "ตุ๊จ๊ก" กัณฑ์กุมารมหาราช และนครกัณฑ์ ซึ่งบางแห่งก็มีการเทศน์ทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ที่เดียว และต้องเริ่มเทศน์ฟังกันตั้งแต่ 7-๔ ค่ำไป ให้สิ้นสุดลงในวันเพ็ญ หรือวันแรม ๑ ค่ำ และต้องนิมนต์พระธรรมกถึกมาจากที่ต่างๆ กัน
ประเพณีล่องสะเปา (ลอยกระทง) มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา คือ
เมื่อประมาณ ๒๕๐๐ ปี ก่อนที่พระพุทธองค์ทรงสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ใต้ต้นอสัตพฤกษ์โพธิใบใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ลุกลวันหนึ่ง นางสุชาดาอุบาสิกาผู้ใจบุญได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาธจำนวน ๔๙ ก้อน ใส่ถาดทองไปถวายพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้วพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าหากวันใดที่พระองค์สำเร็จเป็นพระพุทธจ้า ขอให้ถาดนี้ลอยทวนน้ำ และก็จะเป็นด้วยบุญญาภินิหาร หรือสัตยานิษฐานก็เหลือที่จะทราบได้ ถาดนั้นได้ลอยทวนน้ำห่มกลางความอัศจรรย์ใจของสาวใช้นางสุชาดา เมื่อถาดนั้นลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเลและจมดิ่งลงไปถูกหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล ซึ่งกำลังนอนอย่างสบาย ครั้นถาดนั้นได้ถูกขดหางพระยานาคก็ตกใจตื่น เมื่อเห็นว่าเป็นอะไรแล้ว ก็ประกาศก&l