ท่าวังตาลน่าอยู่ มุ่งเน้นธรรมาภิบาล บริการอย่างมีคุณภาพ *** อุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน  091 009 9977 (งานการแพทย์ฉุกเฉิน) / 094 216 1515 ,053-141775 (งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) /ร้องเรียนทั่วไป 053-140981-2 ต่อ 100 / ผุ้ป่วยฉุกเฉิน - กู้ชีพ (นครพิงค์) 1669 / ตำรวจ - ฉุกเฉิน 191 / ดับเพลิง -กู้ภัย 199 ***

ที่อยู่เทศบาลตำบลท่าวังตาล

149/1 หมู่ 2 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140

โทรศัพท์ 053-140-981-2

งานป้องกันฯ 053 141 775

อีเมล์ saraban-thawangtan@lgo.mail.go.th

President

นางวิมลรัก ตนซื่อ

นายกเทศมนตรี
ตำบลท่าวังตาล

สายด่วน 091-0685389

President

นายภาคภูมิ เชื้อสาวะถี

ปลัดเทศบาล
ตำบลท่าวังตาล

091-065-0515

สายด่วนนายก 093-130-3409

ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)

ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)

แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลท่าวังตาล

หน้าแรก » ข่าวสารประชาสัมพันธ์ » นวัตกรรมโครงการแก้ไขปัญหาขยะโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง ประจำปีงบประมาณ 2566

นวัตกรรมโครงการแก้ไขปัญหาขยะโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง ประจำปีงบประมาณ 2566

arrow 31/05/2566 ::

นวัตกรรมโครงการแก้ไขปัญหาขยะโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง ประจำปีงบประมาณ 2566

นวัตกรรมโครงการแก้ไขปัญหาขยะโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง ประจำปีงบประมาณ 2566

 

 1699002452.jpg (610 KB) 1699002464.jpg (890 KB)

        พื้นที่ตําบลท่าวังตาลเป็นชุมชนที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ใกล้เคียง และมีแนวโน้มเรื่องการเพิ่มขึ้นของประชากรในอนาคต จึงคาดหมายว่าจะมีผลทําให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา ปัจจุบันเทศบาลตําบลท่าวังตาลมีภาระการกําจัดขยะประมาณวันละ ๖-๑๐ ตัน/วัน ทั้งนี้องค์ประกอบของขยะมูลฝอยประกอบด้วย ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป ขยะอันตราย และขยะที่เหลือใช้ทางการเกษตร ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการกําจัดขยะ จึงจําเป็นต้องจัดการปัญหาขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดแยกขยะมูลฝอยจากแหล่งกําเนิด แยกถุง แยกการจัดเก็บหรือกําจัดให้สอดคล้องตามลักษณะประเภทของขยะ จึงจะทําให้การจัดการมีประสิทธิภาพ และช่วยลดปัญหา
เรื่องผลกระทบต่างๆ ที่จะตามมา เทศบาลตําบลท่าวังตาล ได้ดําเนินการจัดทําเทศบัญญัติการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ฉบับแก้ไข ครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ.๒๕๕๖ ขึ้น เพื่อให้การจัดเก็บขยะในเขตเทศบาลตําบลท่าวังตาลอย่างเป็นระบบ
          จากการดําเนินการจัดเก็บขยะตามเทศบัญญัติการจัดการสิ่งและมูลฝอย พบปัญหาที่ตามมาและต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน คือปัญหาจากขยะอินทรีย์และเศษกิ่งไม้ใบไม้ จาการวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่พบว่า ร้อยละ ๕๐ ของขยะทั้งหมดคือขยะอินทรีย์ ประกอบไปด้วย เศษพืชผักเศษอาหาร และเศษผลไม้ต่างๆ ซึ่งขยะอินทรีย์จําพวกนี้เป็นขยะที่มีน้ําหนักค่อนข้างสูงทําให้เทศบาลตําบลท่าวังตาลสูญเสียงบประมาณในการจัดเก็บขยะเป็นจํานวนมากประกอบกับเทศบาลตําบลท่าวังตาลได้ออกเทศบัญญัติ เรื่องการควบคุมควันไฟและฝุ่นละอองจากการเผา พ.ศ.๒๕๕๔ ขึ้น ซึ่งเทศบาลได้ขอความร่วมมือกับประชาชนในเขตตําบลท่าวังตาลห้ามเผาเศษกิ่งไม้และใบไม้ทุกชนิด โดยเน้นส่งเสริมให้ประชาชนหันมาผลิตปุ๋ยหมักจากเศษอาหารและเศษกิ่งไม้ใบไม้เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรและพืชผักที่ปลูกทานเองภายในบ้าน
           กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตําบลท่าวังตาล เล็งเห็นความสําคัญในเรื่องดังกล่าวจึงได้จัดทําโครงการแก้ไขปัญหาขยะโดยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง ประจําปี ๒๕๖๖ ขึ้น โดยขอความอนุเคราะห์วิทยากรจาก กลุ่มเกษตรพอเพียง ชุมชนหมู่ ๕ บ้านป่างิ้ว ตําบลท่าวังตาล มาสาธิตวิธีการทําน้ําหมักชีวภาพจากเศษอาหารและเศษพืชผักผลไม้ เศษกิ่งไม้ใบไม้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง(แม่โจ้ ๑) อบรมให้กับแกนนําหมู่บ้านซึ่งประกอบไปด้วย กํานันผู้ใหญ่บ้าน ประธานอสม./ประธานกลุ่มแม่บ้านทุกหมู่บ้าน/อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกทุกหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่จากเทศบาล เพื่อให้แกนนําที่ผ่านการเรียนรู้นําวิธีการทําน้ําหมักจากเศษอาหารและการทําผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกองจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้รู้กระบวนการใช้ประโยชน์ ไปเผยแพร่ในหมู่บ้านของตนเอง ให้ครอบคลุมทุกครัวเรือนเพื่อลดจํานวนขยะอินทรีย์ซึ่งมีจํานวนมากตั้งแต่ต้นทางตามหลัก ๓RS จังหวัดสะอาด

1699002834.jpg (6.99 MB)  1699002538.jpg (333 KB)  1699002818.jpg (6.37 MB)

 

วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดขยะอินทรีย์ตั้งแต่ต้นทาง
2. เพื่อให้ประชาชนสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกองและน้ำหมักชีวภาพไว้ใชในครัวเรือน

ขั้นตอนกระบวนการรผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง

 

leaftlet-compost_page-0001.jpg (1.19 MB)

 

leaftlet-compost_page-0002.jpg (1.00 MB)

ลิงค์ภายนอก