สายด่วนนายก 093-130-3409
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)
แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลท่าวังตาล
หน้าแรก » ข่าวกิจกรรม » ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปกรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาศิลปกรรม
นายพลเทพ บุญหมื่น หมู่ 11 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
การแสดงซอพื้นเมือง ซอ หมายถึง การร้องหรือการขับร้องเพลงพื้นบ้าน ของล้านนา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซอพื้นเมือง เป็นเพลง พื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวล้านนาไทยในเขต ๘ จังหวัด ภาคเหนือ และบางส่วนของจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ และ ตาก การซอมีทั้งการโต้ตอบกันในลักษณะบทเกี้ยวพาราสี ระหว่างชายหญิง หรือซอเดี่ยว เพื่อเล่าเรื่อง พรรณนา เหตุการณ์ มีเครื่องดนตรีพื้นบ้านบรรเลงประกอบ ผู้ขับเพลงซอ หรือที่เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “ช่างซอ” ที่ร้องโต้ตอบกันเรียกว่า “คู่ถ้อง” ช่างซอที่เป็น คู่ถ้องต้องเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบดี และได้รับการฝึกฝนจนชำนาญ เพราะต้องโต้ตอบกับอีกฝ่ายอย่างทันท่วงที ต้องมีความรู้รอบตัวและมีความจำดี เพราะสามารถนำสิ่ง รอบข้างมาใช้ในการซอได้ นอกจากนี้ต้องจำทำนองของ เพลงซอได้อย่างขึ้นใจ
เนื้อร้องของซอเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขึ้นอยู่ กับสถานการณ์และโอกาสที่ไปแสดง เช่น ถ้าไปแสดง ในงานบวชนาค ช่างซอก็จะร้องเพลงซอพรรณนาเกี่ยวกับ การตอบแทนพระคุณพ่อแม่
เพลงซอ หรือทำนองซอล้านนา แบ่งตามเขต วัฒนธรรมได้เป็น ๒ เขต คือ เขตล้านนาตะวันตก ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน ซอหรือขับซอเข้ากับ ปี่หรือวงปี่จุม คือ มีปี่เป็นหลักในการบรรเลงประกอบ เรียกโดยรวมว่า ซอเชียงใหม่ และล้านนาตะวันออก ได้แก่ น่าน แพร่ เชียงราย (บางส่วน) และพะเยา ขับซอเข้ากับ สะล้อและปิน (ซึง) เรียกโดยรวมว่า ซอน่าน ซอเชียงใหม่มีทำนองซอหลักๆ ๗ ทำนอง คือ ตั้งเชียงใหม่ จะปุ ละม้าย เงี้ยว พม่า อื่อ และพระลอ หรือ ล่องน่าน ส่วนซอน่านมีทำนองซอหลักๆ คือ ซอล่องน่าน ลับแลง ดาดแพร่ และปั่นฝ้าย การขับซอเชียงใหม่จะเร็วกว่า การขับซอน่าน ขั้นตอนการแสดงซอเริ่มด้วยพิธีไหว้ครู โหมโรง เกริ่น เข้าสู่เนื้อหาและบทลา
การขับซอได้มีพัฒนาการมาตลอดตามยุคสมัย เช่น ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมีในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ริเริ่มละครซอขึ้นใน จังหวัดเชียงใหม่ และในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เกิดซอสตริง หรือซอร่วมสมัย ซึ่งนำทำนองซอบางทำนองมาประยุกต์ กับดนตรีสากล ซอ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน เป็นเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมที่สำคัญและโดดเด่นยิ่งของชาวล้านนา มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่เป็นกระจกเงา สะท้อนวิถีการดำรงชีวิตของชาวล้านนาในด้านต่างๆ เช่น ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว การประกอบอาชีพ อาหารและ โภชนาการ การแต่งกาย นอกจากนี้ยังมีความงดงาม ของภาษาคำเมือง หรือภาษาถิ่นเหนือ จึงเป็นภูมิปัญญา ทางภาษาที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ ไว้อย่างงดงามทรงคุณค่า น่าภูมิใจยิ่ง