ท่าวังตาลน่าอยู่ มุ่งเน้นธรรมาภิบาล บริการอย่างมีคุณภาพ *** อุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน 053-141775 / ร้องเรียนทั่วไป 053-140981-2 ต่อ 100 / ผุ้ป่วยฉุกเฉิน - กู้ชีพ 1669 / ตำรวจ - ฉุกเฉิน 191 / ดับเพลิง -กู้ภัย 199 ***

ที่อยู่เทศบาลตำบลท่าวังตาล

149/1 หมู่ 2 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140

โทรศัพท์ 053-140-981-2

งานป้องกันฯ 053 141 775

อีเมล์ saraban-thawangtan@lgo.mail.go.th

President

นางวิมลรัก ตนซื่อ

นายกเทศมนตรี
ตำบลท่าวังตาล

สายด่วน 091-0685389

President

นายภาคภูมิ เชื้อสาวะถี

ปลัดเทศบาล
ตำบลท่าวังตาล

091-065-0515

สายด่วนนายก 093-130-3409

ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)

ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)

แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลท่าวังตาล

หน้าแรก » ข่าวกิจกรรม » ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี ความเชื่อ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี ความเชื่อ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี ความเชื่อ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศาสนาและประเพณี ความเชื่อ

นางแก้วดี  พรมะณี หมู่ 13 บ้านป่ากล้วย ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี  จังหวัดเชียงใหม่

การทำเครื่องพิธีสืบชะตา อ่านว่า “พิธีสืบจ๊ะต๋า”

 

พิธีสืบชะตา เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา ที่เชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุหรือ   ต่อชีวิตของบ้านเมืองหรือของคนให้ยืนยาว มีความสุข ความเจริญ ตลอดจนเป็นการขจัดภัยอันตรายต่างๆ ที่จะบังเกิดขึ้นให้แคล้วคลาดปลอดภัย

แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

  1. สืบชะตาคน นิยมทำเมื่อขึ้นบ้านใหม่ ย้ายที่อยู่ใหม่ ได้รับยศหรือตำแหน่งสูงขึ้น วันเกิดที่ครบรอบ เช่น 24 ปี 36 ปี 48 ปี 60 ปี 72 ปี เป็นต้น หรือฟื้นจากป่วยหนัก หรือมีผู้ทักทายว่าชะตาไม่ดี จำเป็นต้องสะเดาะเคราะห์และสืบชะตา เป็นต้น
  2. สืบชะตาบ้าน นิยมทำเมื่อคนในหมู่บ้านประสบความเดือดร้อน หรือเจ็บไข้ได้ป่วยกันทั่วไปในหมู่บ้าน หรือตายติดต่อกันเกิน 3 คนขึ้นไป ถือเป็นเสนียดของหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านอาจพร้อมใจกันจัดในวันปากปี ปากเดือน หรือปากวัน คือวันที่หนึ่ง สอง หรือสามวันหลังวันเถลิงศก เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล บางท้องถิ่นมีการทำพิธีในวัดประจำหมู่บ้าน
  3. สืบชะตาเมือง จัดขึ้นเมื่อบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อนจากอิทธิพลของดาวพระเคราะห์ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ เพราะทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย เพราะการจลาจลการศึก หรือเกิดโรคภัยแก่ประชาชน ในเมือง เจ้านายท้าวพระยาบ้านเมืองจึงจัดพิธีสืบชะตาเมือง เพื่อให้อายุของเมืองได้ดำเนินต่อเนื่องสืบไป

1.jpg (181 KB)

เครื่องพิธีสืบชะตา

พิธีสืบชะตานั้นมีอุปกรณ์ในการทำพิธีหลายอย่างด้วยกันคือ

  1. กระบอกน้ำ 108 หรือ บางครั้งเท่าอายุ
  2. กระบอกทราย 108 หรือ เท่ากับอายุ
  3. บันไดชะตา 1 อัน
  4. ลวดเงิน 4 เส้น
  5. ลวดทอง 4 เส้น
  6. หมากพลูผูกติดเส้นด้ายในลวดเงินลวดทอง 108
  7. ไม้ค้ำ 1 อัน
  8. ขัวไข่ (สะพานข้ามน้ำขนาดยาว 1 วา) 1 อัน
  9. ช่อ (ธงเล็ก) 108
  10. ฝ้ายค่าคิง จุน้ำมัน (ด้ายยาวเท่ากับตัวผู้สืบชะตา) 1 สาย
  11. กล้วยมะพร้าว 1 ต้น
  12. กล้วยดิบ 1 เครือ
  13. เสื่อ 1 ผืน
  14. หมอน 1 ใบ
  15. หม้อใหม่ 2 ใบ (หม้อเงิน หม้อทอง)
  16. มะพร้าว 1 คะแนง (ทะลาย)
  17. ธงค่าคิง (ธงยาวเท่าตัว) 1 ผืน
  18. เทียนเล่มบาท 1 เล่ม
  19. ด้ายสายสิญจน์ล้อมรอบผู้สืบชะตา 1 กลุ่ม    
  20. บาตรน้ำมนต์ 1 ลูก

2.jpg (118 KB)  3.jpg (124 KB)

การทำเครื่องสะตวงขึ้นท้าวทั้งสี่ (ต้าวตังสี่)

ท้าวทั้ง ๔ คือ ท้าวจตุโลกบาล ผู้รักษาทิศทั้ง ๔ ตามตำนานทางศาสนา ท้าวจตุโลกบาล เป็นเทพในกามาวจรภูมิเป็นสวรรค์ชั้นแรกใน ๖ ชั้น คือ จตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมานรดีปรนิมมิตวสวัตตี ตามแนวความเชื่อทางพระพุทธศาสนา สวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา ตั้งอยู่บนเขายุคันธร สูงจากพื้นผิวโลก ๔๖,๐๐๐ โยชน์สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสถานที่พิเศษกว่ามนุษยโลกในด้านความเป็นอยู่ และความสุข กามาวจรเทพชั้นนี้เรียกรวมกันว่า “จตุมหาราชิกเทวดา” ในสวรรค์ชั้นนี้แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ซึ่งมีมหาราชทั้ง ๔ องค์ครองอยู่แบ่งเป็นส่วน ๆ ไป คือ ท้าวธตรฐ   ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวรรณเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าท้าวกุเวร หรือในไตรภูมิพระร่วงเรียกท้าวไพศรพณ์ ในสวรรค์ชั้นนี้มีพระอินทร์เป็นราชาธิบดี คือเป็น ผู้ปกครองท้าวจตุมหาราชิกาด้วย

4.jpg (103 KB)  5.jpg (75 KB)

การทำสะตวงนั้น นิยมเอากาบกล้วยมาหักพับ เสียบด้วยไม้ไผ่ ซึ่งจักตอกให้คงรูปเป็นสี่เหลี่ยมแล้ว เอากระดาษรองเข้าในสะตวง เพื่อใช้เป็นที่วางเครื่องเซ่น การเตรียมเครื่องเซ่นไว้ ๖ ชุด ก็เพราะ คนโบราณต้องการสังเวยเทพทั้ง ๖ องค์ ประกอบด้วย

๑. พระอินทร์ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าท้าวจตุโลกบาล

๒. ท้าวธตรฐ รักษาทิศตะวันออก                 

 ๓. ท้าววิรุฬหก รักษาทิศใต้

๔. ท้าววิรูปักข์ รักษาทิศตะวันตก

๕. ท้าวเวสสุวรรณ รักษาทิศเหนือ

๖. นางธรณีเทวธิดา ผู้รักษาแผ่นดิน

การสังเวยจึงต้องมีสะตวง ๖ อัน ของพระอินทร์ตั้งตรงกลาง อยู่สูงกว่าสะตวงอื่น ๆ  ของนาง เทพธิดาธรณีวางไว้ล่างใกล้กับแผ่นดิน ส่วนท้าวจตุโลกบาลตั้งตามทิศของท้าวจตุโลกบาลแต่ละองค์ เวลาทำการสังเวย หากจะมีงานในตอนเช้า นิยมสังเวยตอนเย็นก่อนวันหนึ่ง หากจะทำพิธีตอนกลางวัน นิยมสังเวยในตอนเช้า ความมุ่งหมายก็คือต้องการให้เทพทั้ง ๖ มาทำการรักษางานพิธีผู้ที่เป็น เจ้าของงานจะทำการจุดเทียนจุดธูปบน  สะตวงแล้ววางไว้

6.jpg (101 KB) 

ลิงค์ภายนอก