ท่าวังตาลน่าอยู่ มุ่งเน้นธรรมาภิบาล บริการอย่างมีคุณภาพ *** อุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน  091 009 9977 (งานการแพทย์ฉุกเฉิน) / 094 216 1515 ,053-141775 (งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) /ร้องเรียนทั่วไป 053-140981-2 ต่อ 100 / ผุ้ป่วยฉุกเฉิน - กู้ชีพ (นครพิงค์) 1669 / ตำรวจ - ฉุกเฉิน 191 / ดับเพลิง -กู้ภัย 199 ***

ที่อยู่เทศบาลตำบลท่าวังตาล

149/1 หมู่ 2 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140

โทรศัพท์ 053-140-981-2

งานป้องกันฯ 053 141 775

อีเมล์ saraban-thawangtan@lgo.mail.go.th

President

นางวิมลรัก ตนซื่อ

นายกเทศมนตรี
ตำบลท่าวังตาล

สายด่วน 091-0685389

President

นายภาคภูมิ เชื้อสาวะถี

ปลัดเทศบาล
ตำบลท่าวังตาล

091-065-0515

สายด่วนนายก 093-130-3409

ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)

ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)

แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลท่าวังตาล

หน้าแรก » ข่าวกิจกรรม » ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี ความเชื่อ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี ความเชื่อ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี ความเชื่อ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี ความเชื่อ 

 ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศาสนาและประเพณี ความเชื่อ

นางแก้วดี  พรมะณี หมู่ 13 บ้านป่ากล้วย ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี  จังหวัดเชียงใหม่

 01.jpg (39 KB)

นางแก้วดี  พรมะณี หมู่ 13 บ้านป่ากล้วย ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี  จังหวัดเชียงใหม่

การทำเครื่องพิธีสืบชะตา   00.jpg (7 KB)อ่านว่า “พิธีสืบจ๊ะต๋า”

พิธีสืบชะตา เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา ที่เชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุหรือต่อชีวิตของบ้านเมืองหรือของคนให้ยืนยาว มีความสุข ความเจริญ ตลอดจนเป็นการขจัดภัยอันตรายต่างๆ ที่จะบังเกิดขึ้นให้แคล้วคลาดปลอดภัย

แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

  1. สืบชะตาคน นิยมทำเมื่อขึ้นบ้านใหม่ ย้ายที่อยู่ใหม่ ได้รับยศหรือตำแหน่งสูงขึ้น วันเกิดที่ครบรอบ เช่น 24 ปี 36 ปี 48 ปี 60 ปี 72 ปี เป็นต้น หรือฟื้นจากป่วยหนัก หรือมีผู้ทักทายว่าชะตาไม่ดี จำเป็นต้องสะเดาะเคราะห์และสืบชะตา เป็นต้น
  2. สืบชะตาบ้าน นิยมทำเมื่อคนในหมู่บ้านประสบความเดือดร้อน หรือเจ็บไข้ได้ป่วยกันทั่วไปในหมู่บ้าน หรือตายติดต่อกันเกิน 3 คนขึ้นไป ถือเป็นเสนียดของหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านอาจพร้อมใจกันจัดในวันปากปี ปากเดือน หรือปากวัน คือวันที่หนึ่ง สอง หรือสามวันหลังวันเถลิงศก เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล บางท้องถิ่นมีการทำพิธีในวัดประจำหมู่บ้าน
  3. สืบชะตาเมือง จัดขึ้นเมื่อบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อนจากอิทธิพลของดาวพระเคราะห์ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์เพราะทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย เพราะการจลาจลการศึก หรือเกิดโรคภัยแก่ประชาชนในเมือง เจ้านายท้าวพระยาบ้านเมืองจึงจัดพิธีสืบชะตาเมือง เพื่อให้อายุของเมืองได้ดำเนินต่อเนื่องสืบไป

02.01.jpg  02.02.jp

เครื่องพิธีสืบชะตา

พิธีสืบชะตานั้นมีอุปกรณ์ในการทำพิธีหลายอย่างด้วยกันคือ

  1. กระบอกน้ำ 108 หรือ บางครั้งเท่าอายุ 2. กระบอกทราย 108 หรือ เท่ากับอายุ
  2. บันไดชะตา 1 อัน 4. ลวดเงิน 4 เส้น
  3. ลวดทอง 4 เส้น 6. หมากพลูผูกติดเส้นด้ายในลวดเงินลวดทอง 108
  4. ไม้ค้ำ 1 อัน 8. ขัวไข่ (สะพานข้ามน้ำขนาดยาว 1 วา) 1 อัน
  5. ช่อ (ธงเล็ก) 108 10. ฝ้ายค่าคิง จุน้ำมัน (ด้ายยาวเท่ากับตัวผู้สืบชะตา) 1 สาย
  6. กล้วยมะพร้าว 1 ต้น 12. กล้วยดิบ 1 เครือ
  7. เสื่อ 1 ผืน 14. หมอน 1 ใบ
  8. หม้อใหม่ 2 ใบ (หม้อเงิน หม้อทอง) 16. มะพร้าว 1 คะแนง (ทะลาย)
  9. ธงค่าคิง (ธงยาวเท่าตัว) 1 ผืน 18. เทียนเล่มบาท 1 เล่ม
  10. ด้ายสายสิญจน์ล้อมรอบผู้สืบชะตา 1 กลุ่ม 20. บาตรน้ำมนต์ 1 ลูก

  03.01   03.02

การทำเครื่องสะตวงขึ้นท้าวทั้งสี่ (ต้าวตังสี่)

ท้าวทั้ง ๔ คือ ท้าวจตุโลกบาล ผู้รักษาทิศทั้ง ๔ ตามตำนานทางศาสนา ท้าวจตุโลกบาล เป็นเทพ ในกามาวจรภูมิเป็นสวรรค์ชั้นแรกใน ๖ ชั้น คือ จตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมานรดีปรนิมมิตวสวัตตี ตามแนวความเชื่อทางพระพุทธศาสนา สวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา ตั้งอยู่บนเขายุคันธร สูงจากพื้นผิวโลก ๔๖,๐๐๐ โยชน์สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสถานที่พิเศษกว่ามนุษยโลกในด้านความเป็นอยู่ และความสุข กามาวจรเทพชั้นนี้เรียกรวมกันว่า “จตุมหาราชิกเทวดา” ในสวรรค์ชั้นนี้แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ซึ่งมีมหาราชทั้ง ๔ องค์ครองอยู่แบ่งเป็นส่วนๆ ไป คือ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวรรณเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าท้าวกุเวร หรือในไตรภูมิพระร่วงเรียกท้าวไพศรพณ์ ในสวรรค์ชั้นนี้มีพระอินทร์เป็นราชาธิบดี คือเป็น ผู้ปกครองท้าวจตุมหาราชิกาด้วย

04.01  04.02

          การทำสะตวงนั้น นิยมเอากาบกล้วยมาหักพับ เสียบด้วยไม้ไผ่ ซึ่งจักตอกให้คงรูปเป็นสี่เหลี่ยมแล้ว เอากระดาษรองเข้าในสะตวง เพื่อใช้เป็นที่วางเครื่องเซ่น การเตรียมเครื่องเซ่นไว้ ๖ ชุด ก็เพราะ คนโบราณต้องการสังเวยเทพ ๖ องค์ประกอบด้วย ๑. พระอินทร์ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าท้าวจตุโลกบาล ๒. ท้าวธตรฐ รักษาทิศตะวันออก ๓. ท้าววิรุฬหก รักษาทิศใต้ ๔. ท้าววิรูปักข์ รักษาทิศตะวันตก ๕. ท้าวเวสสุวรรณ รักษาทิศเหนือ    ๖. นางธรณีเทวธิดา ผู้รักษาแผ่นดิน การสังเวยจึงต้องมีสะตวง ๖ อัน ของพระอินทร์ตั้งตรงกลาง อยู่สูงกว่า  สะตวงอื่นๆ ของนางเทพธิดาธรณีวางไว้ล่างใกล้กับแผ่นดิน ส่วนท้าวจตุโลกบาลตั้งตามทิศของท้าวจตุโลกบาลแต่ละองค์ เวลาทำการสังเวย หากจะมีงานในตอนเช้า นิยมสังเวยตอนเย็นก่อนวันหนึ่ง หากจะทำพิธีตอนกลางวันนิยมสังเวยในตอนเช้า ความมุ่งหมายก็คือต้องการให้เทพทั้ง ๖ มาทำการรักษางานพิธีผู้ที่เป็นเจ้าของงานจะทำการจุดเทียนจุดธูปบนสะตวงแล้ววางไว้

05.01 

05.02    05.03

 

ลิงค์ภายนอก