ท่าวังตาลน่าอยู่ มุ่งเน้นธรรมาภิบาล บริการอย่างมีคุณภาพ *** อุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน  091 009 9977 (งานการแพทย์ฉุกเฉิน) / 094 216 1515 ,053-141775 (งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) /ร้องเรียนทั่วไป 053-140981-2 ต่อ 100 / ผุ้ป่วยฉุกเฉิน - กู้ชีพ (นครพิงค์) 1669 / ตำรวจ - ฉุกเฉิน 191 / ดับเพลิง -กู้ภัย 199 ***

ที่อยู่เทศบาลตำบลท่าวังตาล

149/1 หมู่ 2 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140

โทรศัพท์ 053-140-981-2

งานป้องกันฯ 053 141 775

อีเมล์ saraban-thawangtan@lgo.mail.go.th

President

นางวิมลรัก ตนซื่อ

นายกเทศมนตรี
ตำบลท่าวังตาล

สายด่วน 091-0685389

President

นายภาคภูมิ เชื้อสาวะถี

ปลัดเทศบาล
ตำบลท่าวังตาล

091-065-0515

สายด่วนนายก 093-130-3409

ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)

ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)

แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลท่าวังตาล

หน้าแรก » ข่าวกิจกรรม » ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม

ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม

ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

ด้านเกษตรกรรม

นายบุญมา  ภูคำศักดิ์ดา เลขที่ 52 หมู่ที่ 5 บ้านป่างิ้ว ตำบลท่าวังตาล  อำเภอสารภี  จังหวัดเชียงใหม่

 

แหล่งเรียนรู้: การเกษตรตามรอยพ่อ

  1. แหล่งเรียนรู้ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลท่าวังตาล
  2. เจ้าของ/ผู้ดูแล นายบุญมา ภูคำศักดิ์ดา
  3. ที่ตั้งเลขที่ 52 หมู่ที่ 5 บ้านป่างิ้ว ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี  จังหวัดเชียงใหม่
  4. องค์ความรู้/กิจกรรมที่ดำเนินการ
  5. การทำน้ำหมักชีวภาพ
  6. การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
  7. การดูแลและการพัฒนาดินเพื่อการเกษตร
  8. การปลูกไผ่หวาน
  9. การทำเกษตรผสมผสาน

บ้านป่างิ้วหมู่ที่ 5 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ มีการเสนอมีแหล่งเรียนรู้ในโครงการการทำปุ๋ยหมักจากเศษไม้และมูลสัตว์ ซึ่งจำนวนเกษตรกรที่ทำสวน ทำไร่ จำนวน 60 กว่าหลังคาเรือน                  เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนทางการเกษตร และลดปัญหาจากการเผา เศษใบไม้และมูลสัตว์ และเพื่อเพิ่มรายให้กับกลุ่มเกษตรกร การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง แบบครบวงจร ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนตำบลท่าวังตาล ส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตร อย่างยั่งยืน อีกทั้ง กลุ่มเป้าหมายในชุมชนตำบลท่าวังตาล สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ต่อ ตนเอง ครอบครัว และชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0001.jpg (188 KB)

0002.jpg (96 KB)

0003.jpg (82 KB)

0004.jpg (60 KB)

0005.jpg (115 KB)

0006.jpg (122 KB)

ชื่อวิทยากร  นายบุญมา  ภูคำศักดิ์  หมอดินประจำตำบลท่าวังตาล

0007.jpg (97 KB)

 

0008.jpg (143 KB)

0009.jpg (130 KB)

0010.jpg (62 KB)

0011.jpg (138 KB)

0012.jpg (172 KB)

กิจกรรม  โครงการการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ หลักสูตร 5 ชั่วโมง

0013.jpg (134 KB)

0014.jpg (23 KB)

0015.jpg (91 KB)

0016.jpg (60 KB)

0017.jpg (34 KB)

0018.jpg (124 KB)

 

การเพาะเห็ดนางฟ้า

ดอกเห็ดนางฟ้าจะเจริญได้ดีที่สุดที่ความชื้นภายในโรงเรือนไม่ควรต่ำกว่า 80 % ถ้าไม่มีชำนาญในการสังเกต ควรใช้เครื่องมือวัดความชื้น คือ ไฮโดรมิเตอร์ แล้วนำค่าตัวเลขไปเทียบกับตาราง ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้ชื้นหรือแห้งจนเกินไป ซึ่งมีผลต่อการเกิดของดอกเห็ดได้ ในเห็ดทุกชนิดเมื่อกำลังสร้างเส้นใยและเกิดดอก เห็ดจะต้องการออกซิเจนสูงมาก แต่ในระยะที่สร้างเส้นใยจะทนต่อการขาดออกซิเจนได้ดีกว่าระยะที่เกิดดอกเห็ด โรงเรือนที่ดีจะต้องจัดให้อากาศถ่ายเทได้ดี โดยเฉพาะโรงเรือนขนาดใหญ่ ถ้าการระบายอากาศไม่ดี ภายในโรงเรือนจะสะสม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้มาก สังเกตที่ลำต้นจะยืดยาว ดอกจะหุบไม่บานแสง เห็ดหลายชนิดไม่จำเป็นต้องรับแสงเลย เพราะเห็ดไม่มีการสังเคราะห์แสงเองได้ แต่แสงมีความจำเป็นต่อการทำให้ดอกเห็ดสมบูรณ์ หรือเพื่อให้เห็ดออกดอกเร็วขึ้น เห็ดนางรมนางฟ้า เมื่อได้รับแสงจะปล่อยสปอร์จากดอกเห็ดได้ดี แต่ถ้าไม่ได้รับแสง ก้านดอกจะยาวออก ดอกเล็กและผลผลิตต่ำ เห็ดนางฟ้ามีคุณสมบัติทางกลิ่นจึงทำให้เป็นที่ดึงดูดของโรคและแมลงซึ่งเป็นศัตรูของเห็ดนางฟ้าได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีศัตรูเห็ดรบกวนหลายชนิดด้วยกัน คือ 1.หนูและแมลงสาบ ควรกำจัดโดยใช้ยาเบื่อ หรือ กับดัก ไม่ควรใช้สารเคมีฉีดที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเพราะอาจจะทำให้เห็ดเป็นพิษและทำให้เห็ดเน่าได้ 2.ไร ตัวไรจะดูดกินน้ำเลี้ยงระยะก้อนเชื้อ และดอกเห็ดทำให้ผลผลิตลดลง ไรจะระบาดเมื่อความชื้นในโรงเรือนต่ำ ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้เกิดการหมักหมม และ การป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า โดยการรักษาความสะอาดโรงเรือนอยู่เสมอ การใช้สารเคมีกำจัด ไม่ควรทำเพราะจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 3.แมลงหวี่ จะเกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมาก แมลงหวี่จะมาตอมและวางไข่และขยายพันธุ์ควรย้ายก้อนเหล่านั้นออกจากโรงเรือนแล้วทำลายทิ้งเพื่อป้องการการแผ่ขยายไปยังก้อนเชื้ออื่น ๆ 4.โรคจุดเหลือง เกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมากที่ตกค้างในการเก็บ หรือเพราะน้ำที่รดนั้นสกปรก ไม่สะอาด ควรแยกเห็ดที่เป็นโรคออกแล้วนำไปทำลาย 5.ราเมือก ลักษณะเป็นสีเหลือง กลิ่นคาวจัด สามารถระบาดโดยสปอร์ได้ ควรป้องกันโดยเอาก้อนที่หมดอายุแล้วและเศษวัสดุในโรงเรือนออกอย่าให้หมักหมม น้ำที่ใช้การรดน้ำเห็ดนางฟ้าให้ได้ผลดีนั้นควรเป็นน้ำที่สะอาดไม่มีสารเคมีและสิ่งสกปรกเจือปนไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำบ่อหรือน้ำคลอง แต่ไม่ควรเป็นน้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำที่เป็นกรด หรือด่าง ถ้าเป็นน้ำประปาควรจะกักไว้ในภาชนะปากกว้างทิ้งไว้ให้คลอรีนระเหยก่อนจึงจะนำไปรดได้ การรดน้ำในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้านั้นควรรดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาความชื้นในโรงเรือนให้ได้นานที่สุด สังเกตดูว่าถ้าอากาศแห้งก็สามารถเพิ่มจำนวนครั้งในการรดได้อีก การรดน้ำนอกจากจะเป็นการรักษาความชื้นแล้ว ยังเป็นการรักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเห็ดนางฟ้า

000001.jpg (737 KB)

000002.jpg (660 KB)

000003.jpg (834 KB)

000004.jpg (774 KB)

000005.jpg (892 KB)

000006.jpg (962 KB)

000007.jpg (990 KB)

เครื่องมือที่ใช้รดน้ำเห็ดใช้ได้ทั้งบัวรดน้ำฝอยละเอียด สายยางธรรมดาติดปลายด้วยฝักบัวฝอยละเอียด หรือใช้สเปรย์ฝอยละเอียดด้วยเครื่องพ่นยาก็ได้ การรดน้ำเห็ดนางฟ้าไม่ควรรดจนโชกหรือมีน้ำขัง ให้พยายามรดน้อย แต่รดบ่อยครั้ง เพื่อเป็นการรักษาโรงเรือนให้มีสภาพชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา การรดน้ำต้องระมัดระวังอย่าให้น้ำเข้าในก้อนเชื้อเพาะเห็ดนางฟ้า จำหลักการง่าย ๆ คือ ควรรดน้ำให้ภายในโรงเรือนชื้น เย็น แต่ต้องไม่เข้าในก้อนเชื้อ ถ้ามีน้ำเข้าในก้อนต้องกรีดถุงเพื่อให้น้ำไหลออก มิฉะนั้นก้อนเชื้อจะเน่าเสียได้

ลิงค์ภายนอก