สายด่วนนายก 093-130-3409
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)
แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลท่าวังตาล
หน้าแรก » ข่าวกิจกรรม » ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี ความเชื่อ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี ความเชื่อ นางแก้วดี พรมะณี หมู่ 13 บ้านป่ากล้วย ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศาสนาและประเพณี ความเชื่อ พิธีสืบชะตา การสืบชะตาหรือสืบชาตา หรือการต่ออายุ หรือสืบชะตากำเนิดให้ยืดยาวต่อไป หมายถึง ต้องการให้เป็นมงคล มีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายปราศจากโรคภัยทั้งหลาย ทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป ความเชื่อถือการสืบชะตานี้ เป็นตำนานปรากฏ ในคัมภีร์ชะตากล่าวว่า "พระสารีบุตรเถระ ซึ่งเป็นอัครสาวกของพุทธเจ้า มีสามเณรองค์หนึ่งชื่อ ติสสะ อายุ 7 ปี มาบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียนกับท่านเป็นระยะเวลาหนึ่งวัน มีวันหนึ่งพระสารีบุตรสังเกตเห็นว่าจะมีอายุได้อีก 7 วัน เท่านั้นจะถึงแก่มรณภาพ พระสารีบุตรจึงเรียกสามเณรมาบอกความจริงให้ทราบว่า ตามตำราหมอดูและตำราลักษณะเธอจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 7 วัน ดังนั้น ให้เธอกลับไปล่ำลา โยมพ่อ โยมแม่และญาติเสีย สามเณรมีความเศร้าโสกเสียใจมากร้องไห้ร่ำไรน่าสงสาร นมัสการอาจารย์แล้วเดินทางกลับบ้านด้วยดวงหน้าอันหม่นหมอง ระยะทางที่สามเณรผ่านไปนั้น ได้พบปลาน้อยในสระน้ำซึ่งกำลังแห้งเขิน เมื่อสามเณรไปถึงปลากำลังดิ้นทุรนทุรายเพราะน้ำแห้งไม่เพียงพอ สามเณรจึงรำพันว่า เออ! เรานี้จะตายภายใน 7 วัน ปลานี้หากไม่มีน้ำจะตายในวันนี้แล้ว อย่ากระนั้นเลยถึงเราจะตายก็ควรโปรดสัตว์หรือปลาเหล่านี้ ให้พ้นจากความตายเถิด สามเณรจึงช้อนปลาใหญ่น้อยทั้งหมดไว้ในภาชนะ คือ บาตรของตนนำไปปล่อยที่แม่น้ำใหญ่ ระหว่างทางพบอีเก้งถูกแล้วข้องนายพราน สามเณรก็ปล่อยเก้งอีก เมื่อเดินทางไปถึงบ้าน บอกเรื่องที่ตนจะตายแก่ญาติบิดามารดาเป็นต้น ต่างก็ร่ำไห้สงสารเณรยิ่งนัก ทุกคนต่างรอเวลาที่เณรจะมรณภาพด้วยดวงใจที่แสนเศร้า โดยกำหนดหนึ่งวันสองวันตามลำดับจนล่วงกำหนดไป 7 วัน สามเณรก็ยังไม่ตาย กลับมีผิวพรรณผ่องใสยิ่งขึ้น ญาติจึงบอกให้กลับไปหาพระมหาสารีบุตรเถระ สามเณรเดินทางไปถึง พระสารีบุตีมีความประหลาดใจ ถึงกับเผาตำราทั้ง สามเณรติสสะ จึงกราบทูลให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องการนำปลาไปปล่อยน้ำ และปล่อยอีเก้งจากแร้วของนายพราน การกระทำเพื่อยืดสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จึงเป็นบุญกรรมซึ่งเป็นพลังให้พ้นจากความตาย ด้วยตำนานนี้เอง ทำให้ชาวบ้านภาคเหนือจึงนิยมชอบการสืบชะตามาจนทุกวันนี้ ประเพณีสืบชะตาคน นับเป็นประเพณีมงคลสำคัญอย่างหนึ่งชาวภาคเหนือนิยมทำกันหลายโอกาส เช่น เนื่องในวันเกิด วันได้รับยศศักดิ์ตำแหน่ง วันขึ้นบ้านใหม่ กุฏิใหม่ หรือ ไปอยู่ที่ใหม่บางครั่ง เกิดเจ็บป่วย หมอเมื่อ (หมอดู) ทายทักว่าชะตาไม่ดีชะตาขาดควรจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์ และสืบชะตาต่ออายุเสีย จะทำให้คลาดแคล้วต่อโรคภัยและอยู่ด้วยความสวัสดีต่อไป การสืบชะตาคนนี้พิธีสืบชะตามีเครื่องพิธีบางอย่างและชื่อของในพิธีเหล่านั้น สถานที่จะจัดทำพิธีสืบชะตา จะทำในห้องโถงหากเป็นวัดก็จัดในวิหารหรือที่ "หน้าวาง" คือห้องรับแขกของเจ้าอาวาส ถ้าเป็นบ้านก็จัดทำ "บนติ๋น" คือรับแขก ซึ่งต้องใช้ห้องกว้าง เพราะให้เพียงพอสำหรับแขกที่มาร่วมงาน หากเป็นวัดก็มีภิกษุ สามเณรรวมทั้งอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ถ้าเป็นบ้านก็ต้องต้อนรับญาติหรือแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน แขกที่มาร่วมงานนี้โดยมากจะเป็นญาติพี่น้องลูกหลาน บางครั้งก็มีผู้สนิทสนมคุ้นเคยมาร่วมด้วย