สายด่วนนายก 093-130-3409
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)
แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลท่าวังตาล
หน้าแรก » ข่าวกิจกรรม » ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านเกษตรกรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านเกษตรกรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิค ด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในภาวะการณ์ต่างๆ ได้
วิทยากร โดย นายบุญมา ภูคำศักดิ์ดา หมู่ 5 บ้านป่างิ้ว ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากหมักบ่มสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้สลายตัวและผุพังไปบางส่วน ทำให้ได้ปุ๋ยที่มีลักษณะสีคล้ำดำ มีลักษณะเป็นผง ละเอียดเหมาะ สำหรับการปรับปรุงดิน และให้ธาตุอาหารแก่พืช วัสดุอินทรีย์ที่ใช้สำหรับการหมัก อาจเป็นเศษพืชสด วัสดุอินทรีย์เผา รวมถึงอาจผสมซากของสัตว์ หรืออาจผสมปุ๋ยคอกก็ได้ และหากนำมากองรวมกัน พร้อมรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ จุลินทรีย์ก็จะทำการย่อยสลายขึ้นซึ่งสังเกตได้จากกองปุ๋ยหมักจะมีความร้อนเกิดขึ้น เมื่อเกิดความร้อนจึงจำเป็นต้องคลุกกลับกองปุ๋ย และรดน้ำให้ทั่ว ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึง และหากความร้อนในกองปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิใกล้เคียงกันในทุกจุด และความร้อนมีน้อยจึงจะแสดงได้ว่า ปุ๋ยหมักปุ๋ยพร้อมใช้งานแล้ว ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายได้ดีแล้วจะมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียดสีน้ำตาลดำ มีความ ร่วนซุย และมีกลิ่นฉุนของการหมัก เมื่อนำปุ๋ยหมักไปใช้ในแปลงเกษตรก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งช่วยเพิ่มแร่ธาตุ อินทรีย์วัตถุ ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง และช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น เป็นต้น
กบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่คนไทยรู้จักกันมานานแล้วในอดีตสามารถจับกบที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำในธรรมชาติเพื่อนำมาบริโภคไม่ยากนักเพราะสภาพแวดล้อมยังเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธ์ของกบแต่ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมในธรรมชาตินั้นได้เปลี่ยนแปลงไปทำให้กบตามธรรมชาติลดน้อยลงไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคและทำให้กบเป็นอาหารที่มีราคาแพงจากเหตุผลดังกล่าวการเลี้ยงกบจึงกลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เกษตรกรให้ความสนใจและหันมาเพาะเลี้ยงกบกันมากขึ้น
ลักษณะบ่อดินเพื่อใช้เลี้ยงกบในกระชัง
• โดยจะขุดบ่อดินขาดประมาณ 35 x 20 เมตรขึ้นไป ลึก 80 – 100 เซ็นติเมตร ไว้หลายๆบ่อ ส่วนใหญ่จะเหมาะกับผู้ที่มีพื้นที่เป็นท่งนามาก่อน
• นำกระชังเลี้ยงกบสำเร็จรูป(ใช้เครื่องจักรเย็บกระชัง จะทนทานกว่าใช้มือเย็บเอง) โดยกระชังที่นิยมที่สุดคือ ขนาด 3 x 4 เมตร ซึ่งจะใส่กบได้ประมาณ 1,200 – 2,500 ตัว/กระชัง เลยทีเดียว โดยมักจะใส่จนเต็มพอดีกับพื้นที่ และมีทางเดินตรงกลางเพื่อสะดวกต่อการให้อาหารและจับกบทยอยขายได้
• สูบน้ำเข้าบ่อประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วนำกระชังขึงด้วยไม้ใผ่ และนำแผ่นยางลอยน้ำ รองใต้กระชัง เพื่อให้ลอยเหนือน้ำ เป็นพื้นที่แฉะสำหรับกบอาศัยอยู่
• ด้านบนปิดด้วยตาข่าย กันศัตรูกบมากิน และมีสแลนพรางแสงและกันฝน กันกบตกใจ
• ปกติถ้าน้ำดีๆจะถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน ก็ได้ โดยสังเกตจากกลิ่นของน้ำเป็นสำคัญ จะต้องไม่เหม็นมากนัก
เห็ดนางฟ้านั้นมีสรรพคุณเป็นยาที่ช่วยในการป้องกันและรักษาโรคต่างๆได้อย่างดีเยี่ยมหากได้กินเป็นประจำก็เชื่อว่าเห็ดนางฟ้าจะช่วยดูเเลสุขภาพของเราได้เป็นอย่าดีซึ่งปัจจุบันก็มีวางขายอยู่ทั่วไปราคาถูกด้วย และจะนำมาใช้และจะนำมาใช้ประกอบการอาหารก็ได้หลากหลายอาทิต้มยำชุบแป้งทอดผัดผักและ ยำเห็ดนางฟ้า จึงถือเป็นทั้งอาหารและยาที่เราทุกคนไม่ควรพลาด
วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า
ดอกเห็ดนางฟ้าจะเจริญได้ดีที่สุดที่ความชื้นภายในโรงเรือนไม่ควรต่ำกว่า 80 % ถ้าไม่มีชำนาญในการสังเกต ควรใช้เครื่องมือวัดความชื้น คือ ไฮโดรมิเตอร์ แล้วนำค่าตัวเลขไปเทียบกับตาราง ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้ชื้นหรือแห้งจนเกินไป ซึ่งมีผลต่อการเกิดของดอกเห็ดได้ ในเห็ดทุกชนิดเมื่อกำลังสร้างเส้นใยและเกิดดอก เห็ดจะต้องการออกซิเจนสูงมาก แต่ในระยะที่สร้างเส้นใยจะทนต่อการขาดออกซิเจนได้ดีกว่าระยะที่เกิดดอกเห็ด โรงเรือนที่ดีจะต้องจัดให้อากาศถ่ายเทได้ดี โดยเฉพาะโรงเรือนขนาดใหญ่ ถ้าการระบายอากาศไม่ดี ภายในโรงเรือนจะสะสม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้มาก สังเกตที่ลำต้นจะยืดยาว ดอกจะหุบไม่บานแสง
เห็ดหลายชนิดไม่จำเป็นต้องรับแสงเลย เพราะเห็ดไม่มีการสังเคราะห์แสงเองได้ แต่แสงมีความจำเป็นต่อการทำให้ดอกเห็ดสมบูรณ์ หรือเพื่อให้เห็ดออกดอกเร็วขึ้น เห็ดนางรมนางฟ้า เมื่อได้รับแสงจะปล่อยสปอร์ จากดอกเห็ดได้ดี แต่ถ้าไม่ได้รับแสง ก้านดอกจะยาวออก ดอกเล็กและผลผลิตต่ำ
เห็ดนางฟ้ามีคุณสมบัติทางกลิ่นจึงทำให้เป็นที่ดึงดูดของโรคและแมลงซึ่งเป็นศัตรูของเห็ดนางฟ้าได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีศัตรูเห็ดรบกวนหลายชนิดด้วยกัน คือ
ผู้บริโภคเพราะอาจจะทำให้เห็ดเป็นพิษและทำให้เห็ดเน่าได้
โรงเรือนต่ำ ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้เกิดการหมักหมม และ การป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า โดยการรักษาความสะอาดโรงเรือนอยู่เสมอ การใช้สารเคมีกำจัด ไม่ควรทำเพราะจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
เหล่านั้นออกจากโรงเรือนแล้วทำลายทิ้งเพื่อป้องการการแผ่ขยายไปยังก้อนเชื้ออื่น ๆ
ไม่สะอาด ควรแยกเห็ดที่เป็นโรคออกแล้วนำไปทำลาย
หมดอายุแล้วและเศษวัสดุในโรงเรือนออกอย่าให้หมักหมม
น้ำที่ใช้การรดน้ำเห็ดนางฟ้าให้ได้ผลดีนั้นควรเป็นน้ำที่สะอาดไม่มีสารเคมีและสิ่งสกปรกเจือปนไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำบ่อหรือน้ำคลอง แต่ไม่ควรเป็นน้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำที่เป็นกรด หรือด่าง ถ้าเป็นน้ำประปาควรจะกักไว้ในภาชนะปากกว้างทิ้งไว้ให้คลอรีนระเหยก่อนจึงจะนำไปรดได้ การรดน้ำในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้านั้นควรรดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาความชื้นในโรงเรือนให้ได้นานที่สุด สังเกตดูว่าถ้าอากาศแห้งก็สามารถเพิ่มจำนวนครั้งในการรดได้อีก การรดน้ำนอกจากจะเป็นการรักษาความชื้นแล้ว ยังเป็นการรักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเห็ดนางฟ้า