ท่าวังตาลน่าอยู่ มุ่งเน้นธรรมาภิบาล บริการอย่างมีคุณภาพ *** อุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน  091 009 9977 (งานการแพทย์ฉุกเฉิน) / 094 216 1515 ,053-141775 (งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) /ร้องเรียนทั่วไป 053-140981-2 ต่อ 100 / ผุ้ป่วยฉุกเฉิน - กู้ชีพ (นครพิงค์) 1669 / ตำรวจ - ฉุกเฉิน 191 / ดับเพลิง -กู้ภัย 199 ***

ที่อยู่เทศบาลตำบลท่าวังตาล

149/1 หมู่ 2 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140

โทรศัพท์ 053-140-981-2

งานป้องกันฯ 053 141 775

อีเมล์ saraban-thawangtan@lgo.mail.go.th

President

นางวิมลรัก ตนซื่อ

นายกเทศมนตรี
ตำบลท่าวังตาล

สายด่วน 091-0685389

President

นายภาคภูมิ เชื้อสาวะถี

ปลัดเทศบาล
ตำบลท่าวังตาล

091-065-0515

สายด่วนนายก 093-130-3409

ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)

ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)

แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลท่าวังตาล

หน้าแรก » ข่าวกิจกรรม » ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านแพทย์แผนไทย

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านแพทย์แผนไทย

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านแพทย์แผนไทย

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านแพทย์แผนไทย

      การแพทย์แผนไทย เป็นภูมิปัญญาซึ่งบรรพบุรุษของไทยได้สั่งสมสืบทอดกันมายาวนาน มีความพยายามในการธำรงรักษาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของชาติมาตั้งแต่อดีต มีการรวบรวมตำรายาที่ดีและจารึกไว้             ในแผ่นหิน ประดับตามผนังศาลาวัดสำคัญต่างๆ เมื่อเริ่มมีการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาในประเทศไทย การแพทย์แผนไทยยังคงมีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยมีการพัฒนาการแพทย์แผนไทยยุคใหม่ เรียกว่า “การแพทย์แผนไทยประยุกต์” คือการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาประยุกต์เพื่ออธิบายและพัฒนาการแพทย์แผนไทย 

  • การใช้ด้ายสายสิญจน์บำบัด

วิทยากร โดย นางพิมพ์วนิดา  โพธิ์ตุ่น  หมู่ 4 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

     แก้อาการนิ้วล็อก-เอ็นยึด โดยนำด้ายสายสิญจน์มาถักเงื่อนกระดูกงู แล้วนำมาพันรัดบริเวณส่วนที่มีปัญหาทั้งนิ้วมือ แขน ขา ให้แน่นพอประมาณ แล้วบีบขยับคลายมือ หรือส่วนต่างๆ แล้วนับหนึ่งถึง 10 จำนวน 10 รอบ จึงค่อยคลายด้าย-ดึงออกอย่างรวดเร็ว จะทำให้คลายเส้นเอ็น     และยืดหยุ่นได้ดี  “วิธีนี้จะทำให้เลือดไหลเวียนในจุดดังกล่าวได้สะดวก ช่วยให้กล้ามเนื้อถูกปลดปล่อย เอ็นยืด ช่วยให้ระบบข้อต่อขยับได้ดี ลดการเกิดตะคริวและชาตามจุดต่างๆ ได้”

Screen Shot 2564-07-23 at 17.07.52.png (438 KB)

  • การทำลูกประคบ ลูกประคบสมุนไพร 

 

วิทยากร โดย นางพิมพ์วนิดา  โพธิ์ตุ่น  หมู่ 4 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

 

การทำลูกประคบ ลูกประคบสมุนไพร เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำ สมุนไพรหลายชนิดมาผ่านกระบวนการทำความสะอาดแล้วนำมาหั่นหรือสับให้เป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการ หากใช้สดให้ตำ หรือบด      พอแตก หากใช้แห้งให้อบหรือตากแดดให้แห้งแล้วบดหยาบ นำมา ห่อรวมกันด้วยผ้าให้ได้รูปทรงต่างๆ เช่น   ทรงกลม รูปหมอน สำหรับนาบหรือกดประคบตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อทำให้ กล้ามเนื้อผ่อนคลายช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย ตัวยาที่นิยมใช้ทำลูกประคบ ได้แก่ ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ บ้าน ผิวมะกรูด ใบมะขาม ใบส้มป่อย เกลือ การบูร 

 

Screen Shot 2564-07-23 at 17.08.12.png (177 KB)

ตัวยาสมุนไพรที่นิยมใช้ทำลูกประคบ

      1. ไพล (500 กรัม) แก้ปวดเมื่อยลดการอักเสบ

      2. ผิวมะกรูดถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้ (200 กรัม) มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน

      3. ตะไคร้บ้าน (100 กรัม) แต่งกลิ่น

      4. ใบมะขาม (300 กรัม) แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว

      5. ขมิ้นชัน (100 กรัม) ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง

      6. เกลือ (1 ช้อนโต๊ะ) ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น

      7. การบูร (2 ช้อนโต๊ะ) แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ

      8. ใบส้มป่อย (100 กรัม) ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน

วิธีทำ

นำสมุนไพรทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน (เว้นเกลือการบูรพิมเสน) อบในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 60-80 องศาประมาณ 1 ชั่วโมงนำสมุนไพรที่อบเสร็จแล้วมาบดหยาบๆนำเกลือการบูรพิมเสนมาคลุกเค้ากับสมุนไพรที่บดได้ตักสมุนไพรใส่ผ้าดิบหรือผ้าขาวบางที่เตรียมไว้มัดด้วยเชือกให้แน่น

 

Screen Shot 2564-07-23 at 17.08.19.png (190 KB)

วิธีใช้

นำลูกประคบสมุนไพร พรมน้ำพอหมาดแล้วนึ่งไอน้ำร้อนประมาณ 15 นาที นวดคลึงบริเวณที่มีอาการ

Screen Shot 2564-07-23 at 17.08.29.png (188 KB) Screen Shot 2564-07-23 at 17.08.45.png (341 KB)

  • งูงับขยับข้อหรืองูรัดนิ้ว คืออุปกรณ์ชนิดหนึ่งสำหรับรักษาอาการนิ้วล็อก

 

วิทยากร โดย นางพิมพ์วนิดา  โพธิ์ตุ่น  หมู่ 4 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

 

โรคนิ้วล็อก เป็นภาษาของเราชาวบ้าน เรียกคนที่มีอาการเหมือนนิ้วโดนล็อกไม่ให้ขยับเขยื้อน ลักษณะอาการที่ปรากฏคือ เมื่อเหยียดนิ้วออกไป ปรากฏว่านิ้วไม่เหยียดตามที่สั่ง จะโทษว่านิ้วดื้อด้านก็ไม่ได้            เหตุที่มันล็อกก็เพราะเจ้าของนิ้วนั่นเองใช้งานนิ้วไม่ถูกต้อง ทำให้มันเหยียดไม่ออก อาการเหล่านี้เกิดมาจากเราทำงานและเกร็งนิ้วมือนานๆ นั่นเอง  วิธีการของเราชาวบ้านแต่โบราณมาก็คือ ใช้กายภาพบำบัด เครื่องมือสำหรับกายภาพบำบัดที่รู้จักกัน ก็คือ งับขยับข้อหรืองูรัดนิ้ว 

 

การสานงูรัดนิ้ว เราชาวบ้านจะนำใบลานหรือเส้นพลาสติกสานมาฉีกเป็นเส้นแล้วสานออกมาเป็นรูปคล้ายกรวย มีความยาวประมาณ 5-6 นิ้ว ความกว้าง ทำแค่ให้สวมนิ้วมือได้ ด้านปากทำเป็นรูปคล้ายปากงู              ตัวกรวยคล้ายงู ส่วนหางนั้น เมื่อสานเสร็จก็ปิดหาง และปล่อยปลายให้ยาวออกไปเล็กน้อย 

 

วิธีการใช้งาน

นำเอาส่วนปากที่มีรูปเหมือนปากงูสวมนิ้วที่มีอาการล็อก ขยับตัวงูรัดนิ้วเบาๆ มันจะช่วยดึงข้อนิ้วและนวดนิ้วให้เป็นอย่างดี ค่อยๆ ทำช้าๆ เรื่อยๆ ไป การทำอย่างนี้ ก็เท่ากับการทำกายภาพบำบัดที่หมอสมัยใหม่เราเรียกขานกันนั่นเอง เมื่อต้องการเอาออก ต้องดันส่วนปลายของตัวรูปงูนั้นเข้าไปก่อน ทำให้ส่วนที่คล้ายลำตัวงอมีลักษณะย่น หลังจากนั้นค่อยดึงออกมา ทำอย่างนี้จะดึงออกมาอย่างง่ายดาย 

Screen Shot 2564-07-23 at 17.09.04.png (215 KB)   Screen Shot 2564-07-23 at 17.09.10.png (285 KB)

ลิงค์ภายนอก